Page 65 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์
P. 65
การจัดป ระสบการณ์การเรียนรู้เกี่ยวกับการวัด 6-55
1 ลูกบาศก์เซนติเมตร เป็น 1 มิลลิลิตร
1 ลูกบาศก์เดซิเมตร เป็น 1 ลิตร
1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร เป็น 1 ลิตร
1 ลูกบาศก์เมตร เป็น 1 ลิตร
2. ระบบหน่วยการวัดปริมาตรแบบไทย สมัยรัชกาลที่ 5 ใน พ.ศ. 2455 ได้มีการออกพระราช-
บัญญัติให้ใช้ก ารช ั่ง ตวง วัด เป็นระบบเมตริก และประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกข องสำ�นักงานช ั่ง ตวง
วัด ระหว่างป ระเทศต ั้งแต่น ั้นม าตราบจ นถึงปัจจุบัน แต่ร ะบบห น่วยการว ัดแบบไทยก็ย ังไม่หมดไป คนไทย
ยังน ิยมใช้ร ะบบห น่วยการวัดแบบเมตริกและแ บบไทยควบคู่ก ันไป
หน่วยการวัดปริมาตรแบบไทยที่เคยใช้กันในอดีตได้แก่ ทะนาน สัด และถัง ทะนานเป็นกะโหลก
หรือกะลามะพร้าวตัดค่อนมาทางป้านแล้วใช้ทางแหลมเป็นทะนาน สัดเป็นเครื่องสานอย่างกระบุง ถังเป็น
เครื่องตวงที่ทำ�ด ้วยไม้ ความจุของสัดและถังใช้เทียบกับทะนาน การใช้สัด ถัง และทะนานมีความสับสน
ป นเปก ัน จนก ระทั่งปี พ.ศ. 2466 ในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงได้มีการออกพ ระร าชบัญญัติ ชั่ง ตวง วัด แบบเมตริก
อีกครั้งหนึ่ง ผลจากการออกพระราชบัญญัตินี้ทำ�ให้ต้องเลิกใช้ สัด ถังและทะนานแบบเก่าทั้งหมด ต้องใช้
เครื่องต วงตามแ บบท ี่ก ำ�หนด ที่เรียกว ่า ทะนานหลวง และส ัดห ลวงแทน
เครื่องต วงที่เป็นทะนานหลวงและสัดหลวงได้มีการกำ�หนดมาตรฐานไว้ว่า ทะนานห ลวงให้ทำ�ด ้วย
สังกะสี มีความจ ุ 1 ลิตร ส่วนสัดหลวงให้ท ำ�ด ้วยไม้ห รือท ำ�ด ้วยเหล็กม ีความจ ุ 20 ลิตร หน่วยท ะนานหลวงน ี้
ผู้คนไม่นิยมเรียก แต่เรียกว่า “ลิตร” หรือ “กระป๋องลิตร” แทน ส่วนหน่วยสัดหลวงผู้คนก็ไม่นิยมเรียก
เช่นกัน แต่เรียกว ่า “ถัง” ถ้าท ำ�ด ้วยไม้ก็เรียก “ถังไม้” ถ้าทำ�ด ้วยเหล็กก็เรียก “ถังเหล็ก” หน่วย “ลิตร” และ
“ถัง” นี้ใช้สำ�หรับตวงของแห้ง ในปัจจุบันประชาชนยังใช้หน่วยเหล่านี้อยู่ แต่มีแนวโน้มที่จะหันไปคิดเป็น
นํ้าหนักมากกว่าคิดป ริมาณ เช่น ข้าวสาร 1 ถัง ปัจจุบันน ิยมชั่งเป็นนํ้าหนักแ ทน
หน่วยล ิตรท ีเ่อ่ยถ ึงด ังก ล่าวข ้างต ้น เป็นห น่วยท ีผ่ ูใ้ชเ้รียกข ึ้นเอง ส่วนห น่วย “ลิตร” ที่ทางก ารก ำ�หนด
ให้ส ร้างเป็นหน่วยตวงขึ้นนั้นทำ�ด ้วยท องเหลืองร ูปเหยือก มีความจุห นึ่งลิตร ใช้สำ�หรับตวงข องเหลว
มาตราต วงร ะบบไทย เป็นดังนี้
1 เกวียน เป็น 2 บั้น
1 บั้น เป็น 50 ถัง (สัดห ลวง)
1 ถัง เป็น 20 ลิตร (ทะนานห ลวง)
มาตราตวงระบบไ ทยเทียบระบบเมตริกได้ดังนี้
1 ทะนานหลวง เป็น 1 ลิตร
1 สัดห ลวง เป็น 20 ลิตร
1 บั้นห ลวง เป็น 1,000 ลิตร
1 เกวียนหลวง เป็น 2,000 ลิตร