Page 22 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์
P. 22

9-12 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์

และหลากหลายแล้ว นักเรียนสามารถเลือกกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาเหล่านั้นมาใช้ได้ทันที กลยุทธ์ในการ
แก้ปัญหาที่เป็นเครื่องมือสำ�คัญและสามารถนำ�มาใช้ในการแก้ปัญหาได้ดีที่พบบ่อยในคณิตศาสตร์ มีดังนี้

       1. 	การค้นหาแบบรูป (looking for a pattern)
       2. 	การสร้างตาราง (making a table)
       3. 	การเขียนภาพหรือแผนภาพ (making a drawing or diagram)
       4. 	การแจงกรณีที่เป็นไปได้ทั้งหมด (accounting for all possibilities)
       5. 	การคาดเดาและตรวจสอบ (guessing and checking)
       6. 	การเขียนสมการ (writing an equation)
       7. 	การคิดแบบย้อนกลับ (working backward)
       8. 	การเปลี่ยนมุมมอง (adapting a different point of view)
       9. 	การแบ่งเป็นปัญหาย่อย (examining a simpler case)
       10.	การใช้เหตุผลทางตรรกศาสตร์ (using logical reasoning)
       11.	การใช้เหตุผลทางอ้อม (using indirect reasoning)
       1.	 การคน้ หาแบบรปู เปน็ กลยทุ ธท์ ีต่ อ้ งการใหน้ กั เรยี นวเิ คราะหป์ ญั หาและคน้ หาความสมั พนั ธข์ อง
ข้อมูลที่มีลักษณะเป็นระบบหรือเป็นแบบรูปในสถานการณ์ปัญหานั้นๆ แล้วคาดเดาคำ�ตอบ ซึ่งคำ�ตอบที่ได้
จะถูกยอมรับว่าเป็นคำ�ตอบที่ถูกต้องเมื่อผ่านการตรวจสอบยืนยัน กลยุทธ์นี้มักจะใช้ในการแก้ปัญหาที่เกี่ยว
กับเรื่องจำ�นวนและเรขาคณิต การฝึกฝนการค้นหาแบบรูปในเรื่องดังกล่าวเป็นประจำ�จะช่วยนักเรียนในการ
พัฒนาความรู้สึกเชิงจำ�นวนและทักษะการสื่อสาร ซึ่งเป็นทักษะที่ช่วยให้นักเรียนสามารถประมาณและคาด
คะเนจำ�นวนที่พิจารณาโดยยังไม่ต้องคิดคำ�นวณก่อน ตลอดจนสามารถสะท้อนความรู้ความเข้าใจในแนวคิด
ทางคณิตศาสตร์และกระบวนการคิดของตนได้
       2.	 การสร้างตาราง เป็นกลยุทธ์ที่ต้องการให้นักเรียนจัดระบบข้อมูลใส่ในตาราง ตารางที่สร้างขึ้น
จะช่วยในการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ อันจะนำ�ไปสู่การค้นพบแบบรูปหรือข้อชี้แนะอื่นๆ ตลอดจนช่วยให้
ไม่หลงลืมหรือสับสนในกรณีใดกรณีหนึ่ง เมื่อต้องแสดงกรณีที่เป็นไปได้ทั้งหมดของปัญหา
       3.	 การเขียนภาพหรือแผนภาพ เป็นกลยุทธ์ที่ต้องการให้นักเรียนอธิบายสถานการณ์และแสดง
ความสัมพันธ์ของข้อมูลต่างๆ ของปัญหาด้วยภาพหรือแผนภาพ ซึ่งการเขียนภาพหรือแผนภาพจะช่วยให้
เข้าใจปัญหาได้ง่ายขึ้นและบางครั้งก็สามารถหาคำ�ตอบของปัญหาได้โดยตรงจากภาพหรือแผนภาพนั้น
       4.	 การแจงกรณีที่เป็นไปได้ทั้งหมด เป็นกลยุทธ์ที่ต้องการให้นักเรียนจัดระบบข้อมูล โดยแยกเป็น
กรณีๆ ที่เกิดขึ้นทั้งหมด ในการแจงกรณีที่เป็นไปได้ทั้งหมด นักเรียนอาจขจัดกรณีที่ไม่ใช่ออกก่อน แล้ว
ค่อยค้นหาระบบหรือแบบรูปของกรณีที่เหลืออยู่ ซึ่งถ้าไม่มีระบบในการแจงกรณีที่เหมาะสมกลยุทธ์นี้ก็จะ
ไม่มีประสิทธิภาพ กลยุทธ์นี้จะใช้ได้ดี ถ้าปัญหานั้นมีจำ�นวนกรณีที่เป็นไปได้แน่นอน ซึ่งบางครั้งเราอาจใช้
การค้นหาแบบรูปและการสร้างตารางมาช่วยในการแจงกรณีด้วยก็ได้
       5.	 การคาดเดาและตรวจสอบ เป็นกลยุทธ์ที่ต้องการให้นักเรียนพิจารณาข้อมูลและเงื่อนไขต่างๆ
ที่ปัญหากำ�หนดผสมผสานกับประสบการณ์เดิมที่เกี่ยวข้องมาสร้างข้อความคาดการณ์ แล้วตรวจสอบความ
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27