Page 71 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์
P. 71
กิจกรรมส่งเสริมทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 9-61
- เห็นคุณค่าและประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์ในบริบทอื่นๆ นอกเหนือจากคณิตศาสตร์ได้
(Recognize and apply mathematics in contexts outside of mathematics)
มาตรฐานดา้ นการน�ำ เสนอ
เพื่อให้นักเรียนสามารถ
- สร้างและใช้การนำ�เสนอในการรวบรวม บันทึก และสื่อสารแนวคิดทางคณิตศาสตร์ได้
(Create and use representations to organize, record and communicate mathemati-
cal ideas)
- เลือกใช้ ประยุกต์ และปรับเปลี่ยนการนำ�เสนอทางคณิตศาสตร์แบบต่างๆ ในการแก้ปัญหาได้
(Select, apply and translate among mathematical representations to solve pro-
blems)
- ใ ช้การนำ�เสนอในการจำ�ลองและตีความปรากฏการณ์ทางกายภาพ ทางสังคม และทาง
คณิตศาสตร์ได้
(Use representations to model and interpret physical, social and mathematical
phenomena)
สำ�หรับมาตรฐานด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ไม่ได้กล่าวไว้ในหนังสือหลักการ
และมาตรฐานส�ำ หรบั คณิตศาสตรร์ ะดบั โรงเรยี น แตใ่ นหนงั สอื ประจำ�ปี ค.ศ. 1999: การพฒั นาการใหเ้ หตผุ ล
ทางคณิตศาสตร์ในเกรด K-12 ของสภาครูคณิตศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา ครูลิกและรูดนิก (Krulik
and Rudnick) ได้กล่าวถึงความสามารถทางด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งพอจะอนุโลม
เป็นมาตรฐานด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ได้ ดังนี้
มาตรฐานด้านความคดิ ริเริม่ สรา้ งสรรค์
เพื่อให้นักเรียนสามารถ
- สังเคราะห์แนวคิด สร้างแนวคิดใหม่ และระบุประสิทธิภาพของแนวคิดต่างๆ ได้
(Synthesize ideas, generate new ideas and determine their effectiveness)
- ตัดสินใจและสร้างผลิตภัณฑ์สุดท้ายขึ้นมาใหม่ได้
(Make decisions and generate new end products)
สำ�หรับประเทศไทย ได้กำ�หนดมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นในสาระที่ 6: ทักษะและกระบวนการทาง
คณิตศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ดังนี้
สาระที่ 6: ทักษะและกระบวนการทางคณติ ศาสตร์
มาตรฐาน ค 6.1: มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมาย
ทางคณิตศาสตร์และการนำ�เสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับ
ศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์