Page 73 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์
P. 73
กิจกรรมส่งเสริมทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 9-63
เรอ่ื งที่ 9.2.2 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ท่เี สริมสร้างทกั ษะและ
กระบวนการทางคณติ ศาสตร์
ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ นอกจากครู
จะต้องเข้าใจมาตรฐานการเรียนรู้ด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์อย่างถ่องแท้แล้ว ครูจะต้อง
ตีความมาตรฐานเหล่านั้นออกมาเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
ตลอดจนแนวการประเมินผลที่คำ�นึงถึงทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนด้วย
แนวทางหนึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เสริมสร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ก็คือ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่นักเรียนเรียนรู้
เนื้อหาคณิตศาสตร์โดยอาศัยสถานการณ์ปัญหาที่เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการของนักเรียนช่วยในการ
เรียนรู้ ในกิจกรรมการเรียนรู้นักเรียนจะได้มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาด้วยตนเองตามขั้นตอนสำ�รวจ
สืบสวน สร้างข้อความคาดการณ์ อธิบาย และตัดสินข้อสรุปในกรณีทั่วไปของตนเอง ซึ่งเป็นการส่งเสริม
ให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การเรียนรู้ผ่านการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
จะช่วยให้นักเรียนมีแนวทางการคิดที่หลากหลาย มีนิสัยกระตือรือร้นไม่ย่อท้อ และมีความมั่นใจในการ
แก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ทั้งภายในและนอกห้องเรียน ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐานที่นักเรียนสามารถนำ�ติดตัวไปใช้แก้
ปัญหาในชีวิตประจำ�วันได้นานตลอดชีวิต
เพือ่ ชว่ ยใหน้ กั เรยี นบรรลมุ าตรฐานการเรยี นรูท้ างดา้ นทกั ษะและกระบวนการทางคณติ ศาสตรแ์ ตล่ ะ
ด้าน ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ครูจะต้องเตรียมปัญหาให้เหมาะสม
และมีประสิทธิภาพ และต้องดำ�เนินกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องและเหมาะสมด้วย
ลกั ษณะทีด่ ีของปญั หาที่เสรมิ สร้างทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
1. ปัญหาที่ดึงดูดความสนใจและท้าทายความสามารถของนักเรียน ปัญหาที่ใช้ควรเป็นปัญหาที่
ดึงดูดความสนใจและท้าทายความสามารถของนักเรียน เป็นปัญหาที่ไม่ง่ายหรือยากเกินไป เพราะถ้าง่าย
เกินไปอาจไม่ดึงดูดความสนใจและไม่ท้าทาย แต่ถ้ายากเกินไปนักเรียนอาจท้อถอยก่อนที่จะแก้ปัญหาได้
สำ�เร็จ
2. ปญั หาทีแ่ ปลกใหมแ่ ละปญั หาทีไ่ มค่ ุน้ เคย ปญั หาทีใ่ ชค้ วรเปน็ ปญั หาทีแ่ ปลกใหมแ่ ละปญั หาทีไ่ ม่
คุ้นเคย ซึ่งนักเรียนไม่เคยมีประสบการณ์ในการแก้ปัญหานั้นมาก่อน เพราะถ้านักเรียนเคยมีประสบการณ์ใน
การแกป้ ญั หานัน้ มาแลว้ ปญั หานัน้ กจ็ ะไมใ่ ชป่ ญั หาทีน่ า่ สนใจอกี ตอ่ ไป อยา่ งไรกต็ าม ส�ำ หรบั ปญั หาทีน่ กั เรยี น
คุ้นเคย ครูอาจดัดแปลงกำ�หนดสถานการณ์ขึ้นใหม่หรือเปลี่ยนแง่มุมของค�ำ ถามให้ต่างไปจากเดิม เพื่อให้
กลายเป็นปัญหาที่แปลกใหม่สำ�หรับนักเรียนก็ได้