Page 76 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์
P. 76

9-66 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์

หลกั การจดั กิจกรรมการเรียนรทู้ ีเ่ สรมิ สรา้ งทกั ษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

       1.	 ครูควรใช้กิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือหรือการทำ�งานร่วมกันเป็นกลุ่มย่อย
            กิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้นักเรียน

ได้มีโอกาสทำ�งานร่วมกันเป็นทีมหรือกลุ่ม ได้ลงมือแก้ปัญหาและปฏิบัติภารกิจต่างๆ จนบรรลุจุดประสงค์ที่
คาดหวังไว้ ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ได้สื่อสารและนำ�เสนอกลยุทธ์และกระบวนการ
แก้ปัญหาของตน ได้อภิปรายถึงกลยุทธ์และกระบวนการแก้ปัญหาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ได้สะท้อน
ความคิดเห็นเกี่ยวกับกลยุทธ์และกระบวนการแก้ปัญหาที่กระทำ�ร่วมกัน ตลอดจนได้เรียนรู้ที่จะยอมรับฟัง
ความคิดเห็นของผู้อื่น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนมีความมั่นใจในการแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่ทั้งภายในและ
ภายนอกห้องเรียน กล้าแสดงหรืออ้างอิงเหตุผล มีทักษะการสื่อสารและทักษะการเข้าสังคม มีความเชื่อมั่น
ในตนเอง และสามารถเชื่อมโยงแนวคิดทางคณิตศาสตร์ต่างๆ ได้ ตลอดจนเข้าใจแนวคิดทางคณิตศาสตร์
ได้อย่างลึกซึ้งและจดจำ�ได้นานมากขึ้น

            ในการจัดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือ ครูจะต้องเลือกขนาดของกลุ่มว่าควรเป็นเท่าไร ซึ่ง
โดยปกติกลุ่มละ 3-4 คน เมื่อเลือกขนาดของกลุ่มได้แล้วครูควรจัดนักเรียนเข้ากลุ่มโดยให้แต่ละกลุ่มมี
นักเรียนที่มีระดับความสามารถเก่ง ปานกลางและอ่อนอยู่ในกลุ่มเดียวกัน หลังจากนั้นครูควรชี้แจงบทบาท
และหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่ม โดยเน้นยํ้าว่า ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา เข้าใจงานของกลุ่ม
และสามารถอธิบายได้ ขณะที่นักเรียนแต่ละกลุ่มทำ�กิจกรรมร่วมกันอยู่ครูควรมีบทบาทในการตรวจตรา
สอดส่องการทำ�งานและพฤติกรรมของนักเรียนแต่ละคน คอยสอดแทรก/ขัดจังหวะกระบวนการแก้ปัญหา
ของกลุ่ม โดยใช้คำ�ถามกระตุ้นเมื่อกลุ่มแก้ปัญหาไม่ได้หรือไม่ตรงประเด็น ตอบคำ�ถาม (คำ�ถามของกลุ่ม
เท่านั้น) และให้คำ�ปรึกษาเท่าที่จำ�เป็น

       2. 	ครูควรสนับสนุนให้นักเรียนเริ่มต้นคิดหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเองก่อน ในการแก้ปัญหาทาง
คณิตศาสตร์ ครูควรสนับสนุนให้นักเรียนเริ่มต้นคิดหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเองก่อน เนื่องจากมีนักเรียน
จำ�นวนมากที่ไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นคิดแก้ปัญหาอย่างไร จึงรอให้ครูแนะและตั้งคำ�ถามนำ� ครูควรตระหนัก
ว่าการถามนำ�มากเกินไปจะทำ�ให้นักเรียนคุ้นเคยกับการคิดเพื่อตอบคำ�ถามครูทีละคำ�ถามต่อเนื่องกันจนได้
คำ�ตอบ โดยไม่คิดเพื่อหาวิธีแก้ปัญหาที่ครบขั้นตอนหรือกระบวนการด้วยตนเอง

       3. 	ครูควรสนับสนุนให้นักเรียนคิดและลงมือปฏิบัติแก้ปัญหาตามขั้นตอนและกระบวนการแก้
ปัญหา ขณะดำ�เนินกิจกรรมการเรียนรู้ ครูควรให้ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและกระบวนการแก้ปัญหาทาง
คณิตศาสตร์แก่นักเรียน เลือกใช้ปัญหาที่เสริมสร้างกระบวนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในการดำ�เนิน
กจิ กรรม แลว้ สนับสนุนใหน้ กั เรียนคิดและลงมือปฏบิ ัติแก้ปญั หาตามขั้นตอนและกระบวนการแก้ปญั หา เพื่อ
ให้นักเรียนมีประสบการณ์และคุ้นเคยกับขั้นตอนและกระบวนการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง

       4. 	ครคู วรเปดิ โอกาสใหน้ กั เรยี นไดค้ ดิ อธบิ ายในสิง่ ทีต่ นคดิ และน�ำ เสนอแนวคดิ ของตนอยา่ งอสิ ระ
ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ครูควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้คิด อธิบายในสิ่งที่ตนเองคิดและนำ�เสนอ
แนวคิดของตนอย่างอิสระ โดยเริ่มต้นจากการให้นักเรียนเติมคำ�ตอบเพียงคำ�เดียว เติมคำ�ตอบสั้นๆ แล้วจึง
เติมคำ�ตอบเป็นข้อความหรือประโยค และเมื่อนักเรียนคุ้นเคยกับการได้คิด อธิบายในสิ่งที่ตนเองคิด และ
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81