Page 44 - สารัตถะและวิทยวิธีทางสังคมศึกษา
P. 44

8-34 สารัตถะและวิทยวิธีทางสังคมศึกษา

       ในด้านการประสานความร่วมมือกันนี้ โดยหลักการแล้วเป็นสิ่งที่ไม่ยาก กล่าวคือ จำ�เป็นที่ครูทุก
คนต้องพร้อมซึ่งความรู้และวัสดุอุปกรณ์ในส่วนของสาขาวิชาที่ครูเกี่ยวข้อง นอกจากนั้น ยังต้องเข้าใจความ
ลำ�บากของนักเรียนซึ่งมักจะได้รับการร้องขอจากแต่ละสาขาวิชามากเกินไป นอกจากนั้น ครูในแต่ละสาขา
วิชาซึ่งคิดว่าตนเองเป็นผู้เชี่ยวชาญ จึงมักจะประเมินความยากลำ�บากในสาขาวิชาของตนเอง ปัญหาจึงทำ�ให้
นักเรียนทำ�งานหนักเกินไป

       สำ�หรับครูที่ทำ�หน้าที่สอนสิ่งแวดล้อมนั้น ได้มีความพยายามที่จะทดลองกันอยู่หลายแบบ แต่ไม่ว่า
จะใช้แบบใดต่างก็มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงตารางเรียนทั้งสิ้น

       การรับผิดชอบร่วมกัน (common responsibility) เป็นช่วงระยะเวลาที่ครูตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปจะ
ต้องทำ�การรับผิดชอบชั้นเรียนร่วมกัน

       การจัดเวลาเรียนมาตรฐานบางส่วน (partial standardization of schedule) กล่าวคือ จะมีการ
จัดเวลาเฉพาะ (ร้อยละประมาณ 15) ของเวลาเรียนปกติ ซึ่งอาจเป็น 1 วัน/สัปดาห์ หรือ 10 วัน/ภาค โดย
ในช่วงระยะเวลาเหล่านั้น ทั้งครูและนักเรียนค่อนข้างจะอิสระที่จะทำ�งานร่วมกันโดยไม่มีข้อจำ�กัด นอกจาก
นั้น ทั้งนักเรียนและครูกลุ่มอื่นก็สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ด้วย

       โครงสรา้ งเชงิ ปฏบิ ตั กิ าร (workshop structure) กลา่ วคอื จดั ในลกั ษณะของการเรยี นการสอนปกติ
ในตอนเข้า และมีประชุมปฏิบัติการหรือจัดชุมนุมในตอนบ่าย ซึ่งนักเรียนสามารถเลือกปฏิบัติกิจกรรมอะไร
ก็ได้ซึ่งไม่ใช่วิชาในห้องเรียน แต่จะมีครูหนึ่งถึงสองคนเป็นผู้นำ�

       โครงสร้างที่เป็นวิชา (course structure) กล่าวคือ ทั้งครูและนักเรียวนจะมีเวลาทั้งหมดตลอดเวลา
หนึ่งสัปดาห์ถึงหนึ่งเดือนสำ�หรับทำ�กิจกรรมเฉพาะ ซึ่งโครงสร้างนี้ส่วนใหญ่จะใช้ในการศึกษาสิ่งแวดล้อมที่
ต่างๆ กัน เช่น การศึกษาธรรมชาติ การศึกษาทะเลและภูเขา ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ในวิชานี้มิใช่เป็นเวลาของ
การออกไปศึกษานอกสถานที่เท่านั้น แต่อาจจะจัดเป็นแบบผสมก็ได้ โดยจัดให้มีการเรียนวิชาในตอนเช้า
ส่วนตอนบ่ายก็ไปศึกษาถึงสิ่งที่นอกเหนือออกไปจากที่ในหลักสูตรกำ�หนดไว้ หรืออาจจะจัดวิชานี้เพื่อให้
นักเรียนได้ศึกษาปัญหาสิ่งแวดล้อมปัญหาหนึ่งปัญหาใด เช่น ไปศึกษาเกี่ยวกับปัญหาพื้นที่คุ้มครอง ปัญหา
เมือง หรือเขตอุตสาหกรรม ฯลฯ

       โครงสร้างแบบจำ�ลอง (module structure) กล่าวคือ การจัดนี้โรงเรียนอาจจะไม่จัดสิ่งแวดล้อม
ศึกษาในห้องเรียนก็ได้ แต่โรงเรียนอาจจะจัดเป็นกลุ่มนักเรียนตั้งแต่ 40-100 คน โดยมีครูนำ� 6-8 คน เพื่อ
ทำ�กิจกรรมที่เป็นสหวิทยาการ โดยกลุ่มจะต้องมีการอภิปรายว่าจะสามารถนำ�เอาความรู้แต่ละวิชาที่ตนได้
เรียนมานั้นมาช่วยดำ�เนินงานที่กลุ่มหรือที่โรงเรียนกำ�หนดให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างไร

       จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การจัดตารางเรียนในโรงเรียนนั้นจะต้องมีการยืดหยุ่นพอสมควร ทั้งนี้
เพื่อให้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนมีเวลาที่จะต้องทำ�งานร่วมกัน ครูเองก็มีเวลาที่จะแนะนำ�วิธีการสอนและการทำ�
กิจกรรมร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมในการก่อให้เกิดการเรียนการสอนแบบสหวิทยาการได้อย่าง
สมบูรณ์ นอกจากนั้น รูปแบบที่มักจะใช้ได้อย่างเหมาะสมและทั่วไปนั้น ได้แก่ โครงสร้างเชิงปฏิบัติการแบบ
เป็นวิชา และแบบจำ�ลอง
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49