Page 29 - สารัตถะและวิทยวิธีทางภาษาอังกฤษ
P. 29
กลวิธีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ 5-19
6) การเรียบเรียงข้อความ เช่น อนุเฉท (paragraph) ประโยคห ัวเรื่อง ประโยค
สนับสนุน การเชื่อมโยงก ันข องเนื้อหา (cohesion) และค วามเป็นเอกภาพ
7) กลไกในการเขียน (mechanics) เช่น การคัดลายมือ การสะกดคำ� การใช้
เครื่องหมายว รรคต อน
8) ไวยากรณ์ เช่น การใช้คำ�ให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์การใช้ภ าษา
9) วากยสัมพันธ์ (syntax) เช่น การเลือกล ีลาในก ารเขียน
หลังจ ากศ กึ ษาเนื้อหาส าระเร่อื งท ่ี 5.1.1 แลว้ โปรดป ฏิบัตกิ จิ กรรม 5.1.1
ในแ นวการศึกษาห นว่ ยท่ี 5 ตอนท่ี 5.1 เรอ่ื งท่ี 5.1.1
เรอ่ื งที่ 5.1.2 กลวิธีการเรียนภาษาองั กฤษทีม่ ีป ระสทิ ธภิ าพ
การสอนที่มีประสิทธิภาพและการเรียนที่มีประสิทธิภาพจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการใช้กลวิธีการ
สอนท ี่ม ีประสิทธิภาพ (David, 2011) ในท ี่นี้จ ะก ล่าวถ ึงก ลวิธีก ารเรียนที่ม ีป ระสิทธิภาพก ่อนเพื่อจะได้
เห็นแ นวทางท ี่ช ัดเจนข ึ้นซ ึ่งจ ะนำ�ไปสู่การจัดการเรียนการส อนที่มีป ระสิทธิภาพต ่อไป
กลวิธีการเรียนภาษาไม่ใช่กลวิธีที่คิดค้นขึ้นใหม่ แต่เป็นกลวิธีที่นักเล่านิทานสมัยโบราณนับ
หลายพันปีได้น ำ�มาใช้ มีเรื่องเล่าก ันว่า ในย ุคเคลติก (Celtic period) ต้องใช้เวลาร ่วม 12 ปี ในการ
ฝึกนักเล่าน ิทาน ใน 2 ปีแ รก เขาต้องจ ำ�นิทาน 250 เรื่อง โดยใช้เครื่องมือก ระตุ้นความจ ำ� (mnemonic
tools) เพื่อช ่วยใหจ้ ดจำ�เรื่องเล่าเหล่าน ั้นได้ ซึ่งท ุกว ันน ีผ้ ูเ้รียนภ าษาใชก้ ลวิธเีหล่าน ีแ้ ละก ลว ิธอี ื่นๆ ด้วย
เพื่อพัฒนาค วามสามารถในก ารส ื่อสาร (Samiida, 2011)
นักการศึกษาและน ักภ าษาศาสตร์ ได้น ิยาม ‘กลวิธีก ารเรียน’ ไว้ดังนี้
- รบู ิน (Rubin, 1987) นิยาม ‘กลวิธีก ารเรียน’ ว่า เป็นก ลวิธีต ่างๆ ซึ่งน ำ�มาใช้เพื่อก ารพ ัฒนา
ระบบของเนื้อหาท างภ าษาที่ผู้เรียนส รรสร้างความร ู้ข ึ้นมาแ ละส ่งผลต่อการเรียนรู้โดยตรง
- โอม าลเลย์และช ะมอท (O’Malley & Chamot, 1990) นิยาม ‘กลวิธีก ารเรียน’ ว่าเป็น
ความคิดห รือพ ฤติกรรมต่างๆ ที่แต่ละบ ุคคลน ำ�มาใช้เพื่อช ่วยให้เข้าใจ เรียนรู้ หรือจ ดจำ�ข้อมูลใหม่ๆ
แล้วสามารถนำ�มาใช้ได้
- อ๊อกซ์ฟอร์ด (Oxford, 1990) นิยาม ‘กลวิธีการเรียน’ ว่าเป็นวิธีการที่ผู้เรียนใช้ในการ
แสวงหาความรู้ การสะสมความรู้ การสืบค้น และการใช้สารสนเทศ รวมถึงการปฏิบัติการเพื่อช่วย