Page 20 - การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับผู้นำทางการศึกษา
P. 20

2-10 การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพสำ�หรับผู้นำ�ทางการศึกษา

       นกั วจิ ยั ทีท่ �ำ การศกึ ษา พฤตกิ รรมความส�ำ เรจ็ ของผูน้ �ำ  ปรากฏอยา่ งเดน่ ชดั 4 กลุม่ คอื มหาวทิ ยาลยั
ไอโอวา (University of Iowa) มหาวิทยาลัยมิชิแกน (University of Michigan) มหาวิทยาลัยแห่ง
รฐั โอไฮโอ (Ohio State University) รวมทัง้ กลุม่ นกั วจิ ยั อสิ ระ อาทิ โรเบริ ท์ เทนเนนบมั (Robert Tannem-
baum) กับ วอเรน เฮช ชมิท (Waren H. Schmidt) และ โรเบิร์ท เบลค (Robert Blake) กับ เซิร์กเลย์
มูตัน (Srygley Mouton) เป็นต้น

       ยุคที่ 3 กลุ่มทฤษฎีภาวะผู้นำ�ตามสถานการณ์ (ค.ศ. 1980-1990)
       ทฤษฎผี ูน้ �ำ ตามสถานการณม์ แี นวความคดิ วา่ ผูน้ �ำ จะตอ้ งสามารถปรบั เปลีย่ นพฤตกิ รรมอยา่ งมรี ะบบ
จากสถานการณ์หนึ่งไปยังอีกสถานการณ์หนึ่งเพื่อความเหมาะสมทั้งสถานที่และเวลา ซึ่งแตกต่างจากทฤษฎี
คุณลักษณะของผู้นำ�  และทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำ�ที่อธิบายว่าลักษณะของผู้นำ�มีรูปแบบที่คงที่ตายตัว ทฤษฎี
ภาวะผู้นำ�ตามสถานการณ์ ทำ�ให้เชื่อว่าการเป็นผู้นำ�ที่มีประสิทธิภาพนั้น ผู้นำ�จำ�เป็นต้องปรับแบบภาวะผู้นำ�
ของตนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ เหล่านั้น ภาวะผู้นำ�ในกลุ่มนี้ ได้แก่

            1) 	ทฤษฎเี ชงิ สถานการณข์ องภาวะผูน้ �ำ ทีม่ ปี ระสทิ ธผิ ลของฟดิ เลอร์ (Fiedler’ contingency
theory of leadership effectiveness)

            2) 	ทฤษฎีเชิงสถานการณ์ของเฮอร์เซย์และบลังชาร์ด (Hersey-Blanchard)
            3) 	ทฤษฎีเส้นทางสู่เป้าหมาย (Path Goal Theory) ของโรเบิร์ท เฮ้าส์ (Robert House)
            4) 	ทฤษฎีภาวะผู้นำ�เชิงสถานการณ์ ของวรูม เยตตันและจาโก (Vroom –Yetton-Jago)
            5) 	ทฤษฎีผู้นำ� 3 มิติของเรดดิน (Reddin) เป็นต้น
       ยุคที่ 4 กลุ่มทฤษฎีภาวะผู้นำ�บูรณาการ
       ในช่วงกลาง ค.ศ. 1970-1979 ได้มีการเปลี่ยนกระบวนทัศน์การศึกษาทฤษฎีภาวะผู้นำ� มีการศึกษา
ทฤษฎีภาวะผู้นำ�แบบบูรณาการ โดยได้นำ�เอาทฤษฎีคุณลักษณะ ทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำ� และทฤษฎีภาวะผู้นำ�
ตามสถานการณ์เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้รูปแบบภาวะผู้นำ�ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ ทฤษฎีภาวะผู้นำ�ตาม
กระบวนทัศน์ที่กล่าวข้างต้น มีดังนี้
            1) 	ทฤษฎีภาวะผู้นำ�เชิงบารมี (charismatic leadership)
            2) 	ทฤษฎีภาวะผู้นำ�การเปลี่ยนแปลง (transformational leadership)
            3) 	ทฤษฎีภาวะผู้นำ�แบบแลกเปลี่ยน (transactional leadership)
            4) 	ภาวะผู้นำ�เชิงกลยุทธ์ (strategic leadership) เป็นต้น
       ต่อมาในปี 1985 แบส (Bass, 1985: 12-13) ได้นำ�เสนอแนวคิดภาวะผู้นำ�แบบเต็มรูป (Full Range
Leadership: FRL) ซึ่งเป็นแนวคิดหนึ่งที่มีการนำ�มาใช้ในการพัฒนาภาวะผู้นำ�กันอย่างแพร่หลาย แนวคิด
นี้เป็นการผสมผสานกันระหว่างแนวคิดภาวะผู้นำ�แบบแลกเปลี่ยน (transactional leadership) กับภาวะ
ผู้นำ�การเปลี่ยนแปลง (transformational leadership) ซึ่งผู้นำ�จะต้องขับเคลื่อนผู้ตามให้เกิดเจตคติที่
เห็นประโยชน์ของกลุ่ม องค์การและสังคมเหนือกว่าการเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน โดยการสร้างให้เกิดความ
ภาคภูมิใจแก่ผู้ตาม นอกจากนี้ ในปี 1993 แบสและอโวลิโอ (Bass & Avolio, 1993: 114–122) ได้นำ�เสนอ
โมเดลภาวะผู้นำ�แบบเต็มรูปโดยใช้ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำ�ตามรูปแบบภาวะผู้นำ�  โมเดลนี้
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25