Page 22 - การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับผู้นำทางการศึกษา
P. 22

2-12 การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพสำ�หรับผู้นำ�ทางการศึกษา

ตั้งคำ�ถามต่อค่านิยมของตนเอง ความเชื่อมั่นและประเพณี การกระตุ้นทางปัญญา เป็นส่วนที่สำ�คัญของการ
พัฒนาความสามารถของผู้ตามในการที่จะตระหนัก เข้าใจ และแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง

            1.4 	การคำ�นึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล (Individualized Consideration: IC) ผู้นำ�จะต้อง
ดูแลเอาใจใส่ผู้ตามเป็นรายบุคคล เป็นการทำ�ให้ผู้ตามรู้สึกมีคุณค่า และมีความสำ�คัญ ผู้นำ�จะต้องกระทำ�ตน
เป็นทั้งโค้ช (coach) และที่ปรึกษา (advisor) และให้ความสำ�คัญกับความต้องการของผู้ตาม รวมทั้งพัฒนา
ศักยภาพของผู้ตามให้สูงขึ้น นอกจากนี้ จะสนับสนุนให้ผู้ตามได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ สร้างบรรยากาศของการ
ให้การสนับสนุน คำ�นึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านความจำ�เป็นและความต้องการ ยอมรับความ
แตกต่างระหว่างบุคคล ส่งเสริมให้มีการสื่อสารสองทาง และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ตามเป็นการส่วนตัว มอง
เห็นผู้ตามเป็นบุคคลมากกว่าเป็นพนักงานหรือเป็นเพียงปัจจัยการผลิต ผู้นำ�จะต้องใช้ทักษะการฟังอย่างมี
ประสิทธิภาพ มีความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ (empathy) มีการมอบงานเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาผู้ตาม
เปิดโอกาสให้ผู้ตามได้ใช้ความสามารถพิเศษอย่างเต็มที่ และเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่ท้าทายความสามารถ ผู้นำ�
จะดูแลผู้ตามว่าต้องการคำ�แนะนำ� การสนับสนุน และการช่วยให้ก้าวหน้าในการทำ�งานที่รับผิดชอบอยู่ โดย
ผู้ตามจะไม่รู้สึกว่าเขากำ�ลังถูกตรวจสอบ

       2. 	ภาวะผู้นำ�แบบแลกเปลี่ยน เป็นกระบวนการที่ผู้นำ�ให้รางวัลหรือลงโทษผู้ตาม ขึ้นอยู่กับผลการ
ปฏิบัติงานของผู้ตาม ผู้นำ�ใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเสริมแรงตามสถานการณ์ จูงใจผู้ตามให้ปฏิบัติงานและ
ช่วยให้ผู้ตามบรรลุเป้าหมาย โดยจะระบุบทบาท และข้อกำ�หนดงานที่ชัดเจน ทำ�ให้ผู้ตามมีความเชื่อมั่นที่จะ
ปฏิบัติงาน และเห็นคุณค่าของผลลัพธ์ และจะต้องรู้ถึงสิ่งที่ผู้ตามจะต้องปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ
มีการจูงใจโดยเชื่อมโยงความต้องการและรางวัลกับความสำ�เร็จตามเป้าหมาย

            2.1 	การใหร้ างวลั ตามสถานการณ์ (Contingent Reward: CR) ผูน้ �ำ จะท�ำ ใหผ้ ูต้ ามเขา้ ใจชดั เจน
ถงึ งานทีต่ อ้ งกระท�ำ  จากนัน้ จะมกี ารใหร้ างวลั ในรปู ของค�ำ ยกยอ่ งชมเชย ประกาศความดคี วามชอบ เงนิ รางวลั
เมื่อผู้ตามสามารถบรรลุเป้าหมายตามที่คาดหวัง เป็นการจูงใจขั้นพื้นฐานหรือเป็นแรงจูงใจภายนอก

            2.2 	การบริหารแบบวางเฉย (Management by Exception: MBE) เป็นการบริหารงานที่ปล่อย
ให้เป็นไปตามสภาพเดิม (status quo) ผู้นำ�ไม่พยายามเข้าไปยุ่งเกี่ยว จะเข้าไปแทรกก็ต่อเมื่อมีอะไรเกิด
ผิดพลาดขึ้น หรือการทำ�งานตํ่ากว่ามาตรฐาน การเสริมแรงมักจะเป็นทางลบ เช่น ตำ�หนิ ให้ข้อมูลย้อนกลับ
ทางลบ การบริหารแบบวางเฉย แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ

                2.2.1	การบรหิ ารแบบวางเฉยเชงิ รกุ (active management by exception) เปน็ การบรหิ าร
งานที่เกี่ยวข้องปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้น�ำ กับผู้ตามในเรื่องการแลกเปลี่ยน ผู้นำ�เชิงรุกจะเน้นการให้รางวัลเมื่อ
ผู้ตามทำ�งานได้สำ�เร็จตามที่คาดไว้ ดังนั้น ภาวะผู้นำ�แบบแลกเปลี่ยนเชิงรุก จึงประกอบไปด้วย การแสวงหา
ข้อมูลที่จะช่วยให้ผู้นำ�ทราบความต้องการของผู้ตาม และช่วยให้ผู้ตามทราบว่าจะต้องทำ�อะไร ต้องแสดง
บทบาทอย่างไร จึงจะทำ�งานได้สำ�เร็จ แรงจูงใจของผู้ตามจะสูงขึ้นถ้ามีความสอดคล้องระหว่างความต้องการ
ของผู้ตามกับรางวัลหรือผลตอบแทนที่ผู้ตามต้องการ
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27