Page 26 - การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับผู้นำทางการศึกษา
P. 26

2-16 การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพสำ�หรับผู้นำ�ทางการศึกษา

       5. 	แสดงพฤติกรรมเชิงรุก (acting proactively) ปฏิบัติงานให้เกิดความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง มี
การประเมินผลความก้าวหน้าเพื่อพัฒนางานไปสู่เป้าหมายแห่งความสำ�เร็จ

       6. 	กลา้ ทีจ่ ะเสีย่ ง (taking risks) ในบางครัง้ ผูน้ �ำ ตอ้ งเปดิ โอกาสใหป้ ฏบิ ตั งิ านเกนิ กรอบหรอื นโยบาย
ได้ ถ้างานนั้นสามารถพัฒนางานในหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

       หลังจากที่ได้วิเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับภาวะผู้นำ�ในสถานศึกษาในหลากหลายลักษณะ เบียร์และ
คณะ (Beare et al., 1989: 108) ได้ข้อสรุปว่าภาวะผู้นำ�ในสถานศึกษาที่โดดเด่น (emerging generations)
ที่จะสามารถบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงได้ประสบผลสำ�เร็จจะมีคุณลักษณะอยู่ 10 ประการ คือ

       1. 	ผู้นำ�ควรมีภาวะผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงมากกว่าภาวะผู้นำ�แบบแลกเปลี่ยน
       2. 	ผู้นำ�ที่ประสบความสำ�เร็จจะต้องเป็นผู้นำ�ที่มีวิสัยทัศน์ขององค์การ
       3. 	สื่อสารวิสัยทัศน์ให้กับบุคลากรในสถานศึกษาโดยเน้นการยอมรับในข้อตกลงร่วมกันมากกว่า
การบังคับ
       4. 	สื่อสารวิสัยทัศน์ในรูปแบบที่มีความหมาย ซึ่งอาจผ่านสัญลักษณ์ คำ�พูด การกระทำ�หรือแม้
กระทั่งการให้รางวัล
       5. 	ประเด็นคุณค่าที่สำ�คัญจะต้องถูกเชื่อมโยงมาที่ภาวะผู้นำ�
       6. 	มีบทบาทสำ�คัญในการพัฒนาวัฒนธรรมของสถานศึกษา
       7. 	สนับสนุนการบริหารโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐานและการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม
       8. 	ใช้แบบภาวะผู้นำ�ในการบริหารจัดการสถานศึกษาอย่างหลากหลาย
       9. 	ให้ความสำ�คัญกับวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาและการทำ�ความเข้าใจกับวิสัยทัศน์ของบุคลากรใน
สถานศึกษาในทุกระดับของโครงสร้างของสถานศึกษาและในทุกกระบวนการบริหารจัดการสถานศึกษา
       10. 	จะต้องให้ความสำ�คัญในภาวะผู้นำ�ทั้งของเพศชายและเพศหญิงอย่างเท่าเทียมกัน
       มัมฟอร์ดและโกลด์ (Mumford & Gold, 1997: 45) ได้อธิบายถึงความเป็นเลิศในการบริหาร
จัดการและการใช้ภาวะผู้นำ�ของผู้บริหารสถานศึกษา ใน 8 ประเด็นหลัก ดังภาพที่ 2.2
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31