Page 28 - การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับผู้นำทางการศึกษา
P. 28
2-18 การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพสำ�หรับผู้นำ�ทางการศึกษา
2.2 การนำ�ทิศทางและวัฒนธรรมองค์การ ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีความสามารถ ในการ
สร้างการติดต่อสื่อสารภายในองค์การที่ดี สร้างวิสัยทัศน์ร่วม สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์และการยืดหยุ่น
ในการทำ�งาน รับมือกับความเปลี่ยนแปลง รับมือกับความเสี่ยงและความคลุมเครือที่อาจเกิดขึ้น สร้างแรง
บันดาลใจให้ผู้อื่น นำ�โดยการแสดงตัวอย่างให้เห็น จัดการด้านประชาสัมพันธ์ วางแผนเพื่อชัยชนะในระยะ
สั้นและให้การเสริมแรง
2.3 การบริหารจัดการสัมพันธภาพ ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีความสามารถในการต่อรอง
และการเจรจา การสร้างความเข้าใจ สัมพันธภาพและศรัทธา การแสดงความมุ่งมั่น การแสดงอารมณ์ขัน
การฟังผู้อื่น การนำ�เสนอตนเองและเสนอความคิด
2.4 การบริหารจัดการตนเอง ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีความรับผิดชอบ การแสดงความ
กระตือรือร้น การควบคุมความเครียดและสุขภาพ การบริหารเวลา มีความยืดหยุ่น มีพลังในการทำ�งาน มี
คณุ ธรรมจรยิ ธรรม มคี วามเชือ่ มัน่ ในตนเอง มคี วามหนกั แนน่ ควบคมุ อารมณไ์ ดด้ ี และรบั รูแ้ ละพฒั นาตนเอง
3. กลุ่มความสามารถด้านงาน จำ�แนกเป็น
3.1 การบรหิ ารจดั การกจิ กรรมและคณุ ภาพ ผบู้ รหิ ารสถานศกึ ษาควรมคี วามสามารถในการให้
ความสนใจกับรายละเอียดของกิจกรรม ตรวจสอบคุณภาพ ควบคุมและติดตามการดำ�เนินกิจกรรม พัฒนา
ระบบและกระบวนการ จัดลำ�ดับความสำ�คัญของงาน ประเมินความก้าวหน้า ติดตาม วางแผนและควบคุม
กิจกรรม และการแก้ไขปัญหา
3.2 การบริหารจัดการข้อมูล ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีความสามารถในการแสวงหาข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล การวางแผน จัดการข้อมูลด้านการเงิน จัดการงบประมาณและการตัดสินใจ
3.3 การบริหารจัดการทรัพยากร ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีความสามารถในการสรรหา
ทรัพยากรและการควบคุมการบริหารทรัพยากร
นอกจากนี้ ผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษายังต้องมีความสามารถทางด้านอารมณ์ (emotional
intelligence) ซึ่งเป็นความสามารถที่เชื่อมโยงกับความมีประสิทธิผลของมนุษย์ ซึ่งผู้นำ�ที่มีประสิทธิผล คือ
ผูน้ �ำ ทีส่ ามารถในการควบคมุ และก�ำ กบั พลงั อ�ำ นาจทางอารมณข์ องตนไปเพือ่ การเสรมิ สรา้ งความพงึ พอใจรวม
ทั้งขวัญกำ�ลังใจและแรงจูงใจของพนักงาน ตลอดจนส่งเสริมความมีประสิทธิผลให้กับองค์การ
โกลแมน (Goleman, 1995) กล่าวว่า ความฉลาดทางอารมณ์มีความสำ�คัญเป็นสองเท่าของความ
ฉลาดทางสติปัญญา รวมกับทักษะทางเทคนิคในการช่วยให้ทำ�งานได้สำ�เร็จ นอกจากนี้บุคคลยิ่งมีตำ�แหน่ง
สูงขึ้นในองค์การ ความสำ�คัญของความฉลาดทางอารมณ์ยิ่งทวีตามความสูงของตำ�แหน่งนั้น ทั้งนี้ เพราะ
การมีทักษะและความเข้าใจทางอารมณ์ จะช่วยเป็นตัวขับเคลื่อนความคิดและการตัดสินใจตลอดจนการ
สร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นของผู้นำ�
ฮิกส์ และ ดูลวิซส์ (Higgs & Dulewicz, 1999) กล่าวว่า ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง การ
บรรลเุ ปา้ หมายของบคุ คล โดยใชค้ วามสามารถบรหิ ารจดั การกบั ความรูส้ กึ และอารมณต์ นเอง มคี วามสามารถ
รับรู้ได้ไว และมีอิทธิพลต่อบุคคลสำ�คัญอื่นๆ และสามารถในการสร้างสมดุลของภาวะจูงใจและแรงขับของ
ตนด้วยพฤติกรรมอย่างผู้มีสติสัมปชัญญะและมีจริยธรรม