Page 33 - การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับผู้นำทางการศึกษา
P. 33
ภาวะผู้นำ�และการบริหารการเปลี่ยนแปลง 2-23
2.2.5 สมรรถนะในการบริหารความขัดแย้ง (conflict management) สมรรถนะด้าน
นี้จะช่วยให้ผู้นำ�สามารถดึงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้ยอมถอยออกมาจากความขัดแย้ง เพื่อมาร่วมหามุมมองที่
แตกต่างกันของแต่ละฝ่ายที่มีต่อปัญหานั้น จากนั้นจึงหาข้อยุติที่ควรเป็นร่วมกันซึ่งทุกฝ่ายให้การยอมรับ
ได้ โดยผู้นำ�จะแสดงความเป็นกลางอยู่เหนือความขัดแย้ง ให้การยอมรับต่อความรู้สึกและทัศนะของทุกฝ่าย
แล้วจึงพยายามระดมพลังเพื่อปรับทิศทางใหม่ของทุกฝ่ายให้ไปสู่ข้อยุติร่วมที่ทุกฝ่ายสามารถยอมรับได้นั้น
2.2.6 สมรรถนะในการสรา้ งทมี งานและความรว่ มมอื (teamwork and collaboration) เปน็
ความสามารถในการทำ�งานแบบทีมของผู้นำ� กล่าวคือผู้นำ�ที่ทำ�ตนเป็นสมาชิกที่ดีของทีมย่อมช่วยสร้างเสริม
บรรยากาศของความเปน็ กลั ยาณมติ รทีพ่ รอ้ มใหค้ วามชว่ ยเหลอื เกือ้ กลู ตอ่ กนั โดยพฤตกิ รรมทีผ่ ูน้ �ำ แสดงออก
ในการทำ�งานกลุ่มจะกลายเป็นต้นแบบให้ผู้อื่นเห็นถึงการให้ความยอมรับนับถือ การให้ความช่วยเหลือ
และการให้ความร่วมมือที่ดีที่สมาชิกพึงมีต่อกันส่งผลให้สมาชิกเกิดความกระตือรือร้น เต็มใจที่จะร่วม
ผูกพันและใช้ความพยายามร่วมกันเป็นกลุ่มก้อน เสริมสร้างนํ้าใจและอัตลักษณ์ของทีม (team spirit and
identity) ให้เกิดขึ้น
การที่ผู้นำ�จะสามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นัน้ ผูน้ �ำ จะตอ้ งมสี มรรถนะทีส่ �ำ คญั อยา่ งรอบดา้ น โดยเฉพาะอยา่ งยิง่ ความสามารถดา้ นการคดิ ความสามารถ
ด้านคน และความสามารถด้านงาน รวมทั้งความฉลาดทางอารมณ์ที่มีต่อความมีประสิทธิผลของผู้นำ�ทั้งด้าน
สมรรถนะเกี่ยวกับตนเองและสมรรถนะที่เกี่ยวกับสังคม ทั้งนี้ เพื่อความเป็นเลิศในการบริหารจัดการและ
การใช้ภาวะผู้นำ�ต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา
เร่อื งท่ี 2.1.4 ผนู้ ำ�กับการเปล่ียนแปลงในสถานศึกษา
ความสัมพันธ์ระหวา่ งผู้นำ�กบั การเปล่ยี นแปลงในสถานศึกษา
ภาวะผู้นำ�มีความสำ�คัญต่อประสิทธิภาพของการพัฒนาสถานศึกษาและการจัดการเรียนการสอน
(Dinham, 2005) งานวิจัยจำ�นวนมากที่แสดงให้เห็นว่าภาวะผู้นำ�เป็นองค์ประกอบที่สำ�คัญที่มีอิทธิพลต่อ
การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาที่ประสบความสำ�เร็จ (Edmonds, 1979; Murphy, Hallinger & Mitman,
1983; Hallinger & Heck, 1996) ดินแฮม (Dinham, 2005: 340) โดยมีคำ�กล่าวว่า
“ภาวะผูน้ �ำ ทีม่ ปี ระสทิ ธผิ ลจะเปน็ คณุ ลกั ษณะสว่ นบคุ คลในการท�ำ งานรว่ มกบั บคุ คลและกลุม่ บคุ คล
ในการเปลี่ยนแปลงการสอนและการเรียนรู้ และผู้นำ�จำ�เป็นต้องเข้าใจถึงธรรมชาติของมนุษย์หากต้องการ
ประสบผลสำ�เร็จในการบริหารการเปลี่ยนแปลง”