Page 35 - การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับผู้นำทางการศึกษา
P. 35

ภาวะผู้นำ�และการบริหารการเปลี่ยนแปลง 2-25

       จะเห็นว่า สถานศึกษาที่ประสบความสำ�เร็จมักจะขึ้นอยู่กับผู้บริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลซึ่ง
จะเห็นได้จากหลักการและผลงานวิจัยที่มีอยู่หลากหลายลักษณะ ทั้งนี้ ผู้บริหารสถานศึกษาจำ�เป็นต้องศึกษา
ความเปลี่ยนแปลงและบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นให้ได้อย่างมีประสิทธิผล

ลักษณะการเปลย่ี นแปลงในสถานศึกษา

       ภายใต้ทฤษฎีของการเปลี่ยนแปลง เบิร์น (Burnes, 1996) ได้กล่าวว่า หากมองในเชิงบริบทของการ
บริหารการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษาจะพิจารณาได้ 3 ลักษณะ คือ

       1. 	มมุ มองของสถานศกึ ษาแตล่ ะแหง่ (The individual perspective school) ภายใตน้ กั พฤตกิ รรม-
ศาสตร์และนักจิตวิทยา Gestalt-Field สถานศึกษาภายใต้บริบทนี้ถูกมองว่า พฤติกรรมของบุคคลใน
สถานศึกษาจะเปลี่ยนแปลงก็ต่อเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ และเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม
เกิดขึ้นจะต้องมีการให้รางวัลโดยทันที หากไม่มีการให้รางวัล พฤติกรรมนั้นๆ จะหยุดไปโดยปริยายตาม
ทฤษฎีของ Gestalt ซึ่งสถานศึกษาลักษณะนี้ หากต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจะต้องใช้สิ่งจูงใจให้แต่ละ
บุคคลซึ่งถือว่าเป็นตัวกระตุ้นภายนอก รวมทั้งต้องใช้ควบคู่ไปกับการอภิปรายพูดคุย การมีส่วนร่วมซึ่งเป็น
ผลสะท้อนจากภายในของแต่ละคนในการนำ�ไปสู่การเปลี่ยนแปลงทั้งของบุคคลและในส่วนของสถานศึกษา

       2. 	กลุม่ สถานศึกษา (The group school) ภายใตบ้ ริบทของสถานศกึ ษาลักษณะนี้ การเปลีย่ นแปลง
ที่เกิดขึ้นจะเกิดจากกลุ่มบุคคลหรือทีมงานมากกว่าจะเกิดจากบุคคลหนึ่งบุคคลใด นักทฤษฎีแนวคิดนี้ คือ
เลวิน (Lewin) ซึ่งกล่าวว่าพฤติกรรมกลุ่มจะส่งผลต่อโครงสร้างของกลุ่มและพฤติกรรมของบุคคล เขากล่าว
ว่า พฤตกิ รรมส่วนบุคคลมอี ิทธิพลต่อแรงต้านและความตึงเครียดซึ่งมาจากแต่ละคนภายในกลุม่ จดุ เนน้ ของ
การเปลี่ยนแปลงจะอยู่ที่ระดับของกลุ่มซึ่งควรเน้นไปที่บรรทัดฐาน บทบาทและค่านิยมของกลุ่มเป็นสำ�คัญ

       3. 	สถานศึกษาระบบเปิด (The open systems school) เป็นสถานศึกษาที่มีลักษณะระบบย่อย
หลายๆ ระบบรวมเขา้ ดว้ ยกนั หากมกี ารเปลีย่ นแปลงการปฏบิ ตั ใิ นระบบยอ่ ยใดกจ็ ะกระทบกบั ระบบยอ่ ยอืน่ ๆ
ด้วย ลักษณะของสถานศึกษาเช่นนี้จะเป็นสถานศึกษาแบบเปิด คือ มีการปฏิสัมพันธ์กับทั้งสภาพแวดล้อม
ภายนอก ในขณะเดียวกันก็มีการปฏิสัมพันธ์กันภายในสถานศึกษาด้วย และหากมีการเปลี่ยนแปลงทั้งจาก
ภายนอกและจากภายในก็จะเกิดผลกระทบซึ่งกันและกัน

บทบาทของผนู้ �ำ การเปลีย่ นแปลงในสถานศึกษา

       ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องทำ�หน้าที่เป็นผู้นำ�  ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างในด้านพฤติกรรมและเป็น
ผู้กำ�หนดพฤติกรรมของบุคลากรในสถานศึกษา การแสดงออกของผู้บริหารจะมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิด
ของครูและผู้เรียนด้วย และที่สำ�คัญผู้บริหารสถานศึกษาเป็นบุคคลสำ�คัญยิ่งในการผลักดันให้เกิดการ
ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษา จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมของผู้นำ�องค์การในระดับต่างๆ จะ
ส่งผลต่อการสร้างความมั่นใจให้กับลูกน้องหรือผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบ และความมั่นใจ
ในกลุ่มลูกน้องนี้เองจะไปสู่ความเชื่อที่ว่าเขาสามารถที่จะทำ�การเปลี่ยนแปลงที่ยากลำ�บากและท้าทายได้
เบนนิสและนานัส (Bennis & Nanus, 1997: 28-29) ชี้แนะว่าวิสัยทัศน์ผู้นำ�จะสามารถสร้างจิตวิญญาณของ
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40