Page 37 - การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับผู้นำทางการศึกษา
P. 37

ภาวะผู้นำ�และการบริหารการเปลี่ยนแปลง 2-27

การบรหิ ารการเปล่ียนแปลงในสถานศึกษา

       จากความสำ�คัญของภาวะผู้นำ�ของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลงในสถาน-
ศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาในฐานะ ผู้บริหารการเปลี่ยนแปลงจะต้องวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เพื่อที่
จะสามารถเขา้ ใจถงึ ลกั ษณะการเปลีย่ นแปลง และสามารถเตรยี มรบั มอื กบั ความเปลีย่ นแปลงทีเ่ กดิ ขึน้ ได้ เชน่

       การเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษาในเรื่องทีเ่ กีย่ วกบั การเปลี่ยนแปลงทางการบรหิ ารโดยใช้สถานศกึ ษา
เป็นฐาน ผู้บริหารต้องวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงว่าจะใช้กระบวนการเปลี่ยนแปลงในลักษณะใด โดยอาจใช้
กระบวนการบรหิ ารการเปลีย่ นแปลงของส�ำ นกั งานคณะกรรมการพฒั นาระบบราชการ (2550) ซึง่ ตอ้ งวเิ คราะห์
ถึงทีมบุคคลที่รับผิดชอบ การพัฒนาวิสัยทัศน์ของการเปลี่ยนแปลง การวางแผนการพัฒนาและกำ�หนด
ตัวชี้วัดและการพัฒนาโครงสร้างที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

       1. การสร้างทีมเจ้าภาพ เพื่อเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการวางแผน ดำ�เนินการตามแผนและ
กิจกรรมต่างๆ ให้ได้ผลตามที่วางเป้าหมายไว้ โดยพิจารณาว่า หากต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการ
บริหารโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน สถานศึกษาต้องการความช่วยเหลือจากผู้ใดบ้าง เช่น หากต้องการพัฒนา
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษาจะต้องมีผู้ที่มีความชำ�นาญทางด้าน IT และผู้ที่มีความรู้ใน
ระบบงานสารสนเทศอยู่ในทีมเจ้าภาพด้วย เพื่อให้การสนับสนุนในการเปลี่ยนแปลงนั้น หรือหากต้องการ
คณะกรรมการสถานศึกษาที่เข้มแข็งควรพิจารณาสรรหาบุคลากรที่มีความรู้ ประสบการณ์ในการพัฒนาการ
ศกึ ษาเปน็ อยา่ งดเี ขา้ มารว่ มอยูใ่ นทมี เจา้ ภาพดว้ ย ทัง้ นี้ ทมี เจา้ ภาพทีม่ คี วามเขม้ แขง็ ควรมตี �ำ แหนง่ ทีม่ บี ทบาท
สามารถใหก้ ารสนบั สนนุ หรอื ขบั เคลือ่ นการเปลีย่ นแปลงได้ (position power) มคี วามช�ำ นาญในดา้ นทีจ่ �ำ เปน็
(expertise) มีความน่าเชื่อถือ (credibility) และมีภาวะผู้นำ� (leadership)

       2. 	การพัฒนาวิสัยทัศน์ของการเปลี่ยนแปลง ในกรณีที่การเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นการเปลี่ยนแปลง
ครั้งใหญ่ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางการบริหารโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน ซึ่งต้องมีการปรับวิสัยทัศน์ใหม่
ซึง่ ลกั ษณะของวสิ ยั ทศั นข์ องการเปลีย่ นแปลงทีด่ จี ะคลา้ ยกบั สโลแกนทีบ่ อกถงึ อนาคตทีท่ กุ คนตอ้ งการใหเ้ กดิ
ขึ้นมีความน่าสนใจ น่าตื่นเต้น สร้างความกระตือรือร้นให้กับคนฟังได้และเป็นจริงได้ ไม่เพ้อฝัน มีขอบเขต
มุ่งเน้นเฉพาะบางเรื่อง มีความยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนได้เมื่อสถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป และ
ง่ายต่อการสื่อสารไปยังกลุ่มคนในระดับต่างๆ ขององค์การ ซึ่งลักษณะของการพัฒนาวิสัยทัศน์ จะศึกษา
เพิ่มเติมได้ในหน่วยที่ 1 วิสัยทัศน์ของผู้นำ�ทางการศึกษา

       3. 	การวางแผนและกำ�หนดตัวชี้วัด เป็นการกำ�หนดว่าในแต่ละงาน กิจกรรมหรือการเปลี่ยนแปลง
ที่ต้องทำ�เพื่อให้วิสัยทัศน์เป็นจริง มีสิ่งใดบ้างที่ต้องทำ�  ทำ�เมื่อใด และอย่างไร ซึ่งการจะวางแผนได้ดีนั้น
ตอ้ งก�ำ หนดใหช้ ดั เจนวา่ สิง่ ใดบา้ งทีจ่ ะเปลีย่ นแปลง สภาพปจั จบุ นั กอ่ นการเปลีย่ นแปลงของสิง่ นัน้ เปน็ อยา่ งไร
และสภาพทีต่ อ้ งการใหเ้ ปน็ หรอื เกดิ ขนึ้ หลงั การเปลยี่ นแปลงเปน็ อยา่ งไร นอกจากนี้ การจะวางแผนไดด้ จี ะตอ้ ง
มีความรู้ในบริบท หรือในเรื่องที่จะเปลี่ยนแปลง หรือในธุรกิจนั้นๆ ในระดับหนึ่ง สำ�หรับลักษณะของแผนที่
ดีนั้น จะต้องเรียบง่าย เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน เป็นแผนที่พัฒนาโดยบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกระดับ เพื่อ
ให้บุคคลเหล่านั้นกระตือรือร้นที่จะสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ นอกจากนี้จะต้องแบ่งงานเป็นส่วนย่อยๆ
ที่ดูแล้วสามารถทำ�ให้สำ�เร็จได้ไม่ยากนัก มีการระบุบทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน และแผนนั้น
จะต้องยืดหยุ่น สามารถปรับเปลี่ยนแก้ไขได้
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42