Page 32 - การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับผู้นำทางการศึกษา
P. 32

2-22 การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพสำ�หรับผู้นำ�ทางการศึกษา

กว้างขวาง จึงไวในการรับรู้ถึงความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อื่น เป็นผู้นำ�ที่รับฟังอย่างตั้งใจและสามารถจับ
ประเด็นที่เป็นมุมมองของผู้อื่นได้ดี ด้วยทักษะในการเข้าใจความรู้สึกผู้อื่นทำ�ให้ผู้นำ�สามารถเข้ากับบุคคล
ต่างๆ ที่มาจากความหลากหลายทางภูมิหลัง และวัฒนธรรมได้ดี

                2.1.2 สมรรถนะความตระหนักรู้ด้านองค์การ (organizational awareness) หมายถึง
ความเข้าใจสภาพปัจจุบันปัญหาของหน่วยงาน รู้เครือข่ายการตัดสินใจและภาวะการเมืองในระดับองค์การ
ได้ดี ผู้นำ�ที่มีความเข้าใจทางสังคมสูง จะมีความเข้าใจรู้เท่าทันเกมทางการเมือง รู้วิธีปฏิสัมพันธ์กับเครือข่าย
ทางสังคมทีส่ �ำ คญั และสามารถอา่ นความสมั พนั ธร์ ะหวา่ งบคุ คลทีม่ อี �ำ นาจตา่ งๆ ทางสงั คมไดถ้ กู ตอ้ ง ผูน้ �ำ เชน่
นีจ้ งึ สามารถเข้าใจถงึ พลงั การเมืองของกลุม่ ต่างๆ ภายในองค์การได้ดี ตลอดจนสามารถเขา้ ใจถงึ คา่ นยิ มหลกั
และกฎเกณฑ์ที่มิได้ระบุเป็นลายลักษณ์อักษร แต่คนภายในองค์การยึดถือและปฏิบัติ

                2.1.3 สมรรถนะด้านการบริการ (service) หมายถึง ความสามารถในการรับรู้ และ
ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ร่วมงาน ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสีย ผู้นำ�ที่มีความสามารถด้านบริการ
สูงย่อมเข้าใจสร้างบรรยากาศด้านอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานที่ต้องสัมผัสโดยตรงกับผู้รับ
บรกิ ารสามารถสรา้ งสมั พนั ธภาพและความรูส้ กึ ทีด่ ตี อ่ กนั ผูน้ �ำ จะใหค้ วามส�ำ คญั ในการตดิ ตามดแู ลตรวจสอบ
ถึงความต้องการมากที่สุด ดูแลและใส่ใจให้ผู้ร่วมงาน ผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้เสียพบปะได้เสมอเมื่อ
ต้องการ

            2.2 	ด้านความสามารถบริหารจัดการความสัมพันธ์ (relationship management) มีสมรรถนะ
ที่สำ�คัญอยู่ 6 ประการ ได้แก่

                2.2.1 สมรรถนะในการสร้างแรงดลใจ (inspiration) ผู้นำ�ที่มีความสามารถในการดลใจ
ชี้นำ�และจูงใจผู้ตามให้เกิดความผูกพันยึดมั่นต่อวิสัยทัศน์และพันธกิจร่วมขององค์การด้วยความเต็มใจ
เป็นทักษะที่ทำ�ให้ผู้นำ�มองการณ์ไกลและเป็นความสามารถที่ช่วยสร้างความน่าตื่นเต้นในการทำ�งานให้กับ
ผู้เกี่ยวข้องทุกคน

                2.2.2 สมรรถนะด้านอำ�นาจอิทธิพล (influence) ตัวบ่งชี้ของผู้นำ�ที่มีอิทธิพล อาจมอง
เห็นตั้งแต่ระดับง่ายๆ เช่น ผู้นำ�ใช้การพูดหว่านล้อมจนผู้ฟังคล้อยตามและยินยอมปฏิบัติตาม ไปถึงการใช้
อิทธิพลระดับที่มีความซับซ้อน เช่น การที่ผู้นำ�รู้วิธีการที่จะดึงบุคคลสำ�คัญเข้ามาเป็นพวกและเข้ามาเป็น
เครอื ขา่ ยของตน เพอื่ ใหช้ ว่ ยสนบั สนนุ ความคดิ ใหมห่ รอื โครงการใหมท่ ีต่ นจะรเิ ริม่ ขึน้ เปน็ ตน้ ผูน้ �ำ ทีเ่ ชีย่ วชาญ
ในการใช้อิทธิพลจึงมักเป็นนักเจรจาหว่านล้อมได้ดีมีศิลปะการพูดจูงใจต่อหน้าชุมชนสูง

                2.2.3 สมรรถนะในการพัฒนาผู้อื่น (developing others) ผู้นำ�ที่มีความสามารถด้านนี้
จะใส่ใจให้ผู้ร่วมงานได้พัฒนาตนเองระหว่างทำ�งานด้วยการให้คำ�แนะนำ�และให้ข้อมูลป้อนกลับตลอดเวลา
เป็นผู้นำ�ที่เข้าใจถึงเป้าหมายของผู้ร่วมงานตลอดจนจุดเด่นจุดด้อย ของแต่ละคนจากนั้นก็จะเข้าช่วยเหลือ
ในฐานะเป็นพี่เลี้ยง (mentors) หรือผู้ฝึกสอน (coaches) ของคนเหล่านั้น

                2.2.4 สมรรถนะการเป็นตัวเร่งการเปลีย่ นแปลง (change catalyst) ผูน้ �ำ ที่เป็นตวั เรง่ การ
เปลี่ยนแปลงได้นั้นคือผู้ที่กล้าท้าทายต่อสถานภาพเดิมเพื่อให้ได้ความเป็นเลิศขึ้นมาใหม่ ผู้นำ�จะยืนหยัดต่อ
การเปลี่ยนแปลงอย่างเข้มแข็งแม้จะอยู่ท่ามกลางผู้คัดค้านก็ตาม สามารถทำ�ให้ข้อขัดแย้งดังกล่าวกลายเป็น
เรื่องที่ทุกคนเห็นด้วยว่าจำ�เป็นต้องทำ�  นอกจากนี้ผู้นำ�ยังรู้จักหาวิธีการที่เป็นไปได้เชิงปฏิบัติในการเอาชนะ
อุปสรรคขัดขวางการเปลี่ยนแปลง
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37