Page 44 - การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับผู้นำทางการศึกษา
P. 44
2-34 การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพสำ�หรับผู้นำ�ทางการศึกษา
1. ปจั จัยทีเ่ ปน็ แรงต้านการเปลีย่ นแปลง (restraining forces) การตอ่ ต้านการเปลีย่ นแปลงนั้นเป็น
เรื่องปกติที่เกิดขึ้นเสมอ เมื่อจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง โดยทั่วไปแรงต่อต้านการเปลี่ยนแปลงในองค์การมัก
เกิดขึ้นด้วยสาเหตุต่างๆ ดังนี้
- ความกลัวว่าจะต้องสูญเสียประโยชน์ อำ�นาจ ความมั่นคง หรือสิ่งที่เคยมี เคยทำ�อยู่จน
เคยชิน ความรู้สึกหวั่นไหวต่อความคลุมเครือ ความไม่แน่นอน ความรู้สึกว่าการเปลี่ยนแปลงจะทำ�ให้ตน
ถูกโดดเดี่ยว แปลกแยก และความรู้สึกที่จะต้องละจากแบบแผนของชีวิตที่ใช้มาจนเคยชิน
- การขาดความรู้ความเข้าใจที่ดีพอเกี่ยวกับแนวทาง วิธีการ และจุดหมายปลายทางของการ
เปลี่ยนแปลง
- ความไม่เชื่อถือ ไม่ไว้วางใจ ไม่เชื่อใจกัน ซึ่งทำ�ให้ขาดการสื่อสารสร้างความเข้าใจ ซึ่งยิ่ง
บ่อนทำ�ลายความไว้วางใจกันและกัน
- ปัจจัยอื่นๆ เช่น ข้อจำ�กัดด้านทรัพยากร ความไม่ยืดหยุ่นของกฎระเบียบ ความยากลำ�บาก
ในการสื่อสาร ฯลฯ
2. ปัจจัยที่เป็นแรงขับให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (driving forces) ปัจจัยที่มักพบว่าเป็นแรงเสริมที่
ช่วยผลักดันการเปลี่ยนแปลงในองค์การ ได้แก่
- ความไม่พึงพอใจในสภาพปัจจุบันที่เป็นอยู่
- ความสามารถในการรับรู้ข่าวสารร่วมกันในหมู่คนในองค์การ ซึ่งจะช่วยให้เห็นความจำ�เป็น
ของสถานการณ์ได้ตรงกัน พร้อมๆ กัน
- ภาพลักษณ์ และการปฏิบัติตนของผู้นำ�ที่แสดงถึงความมุ่งมั่น เอาจริงเอาจังต่อการ
เปลี่ยนแปลง
- การเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลในตำ�แหน่งต่างๆ โดยเฉพาะในกลุ่มตำ�แหน่งผู้บริหาร
- ความจำ�เป็นขององค์การที่ต้องใช้เทคโนโลยีในการดำ�เนินการ และความรวดเร็วของ
พัฒนาการทางเทคโนโลยีประเภทที่องค์การใช้เป็นหลักในการดำ�เนินการ
- สัมพันธภาพระหว่างบุคลากรในฝ่ายและระดับต่างๆ ในองค์การ รวมถึงความไว้วางใจ และ
การสื่อสารที่ทั่วถึงกัน
- การมีศัตรูร่วม หรือเป้าหมายร่วมที่ชัดเจน
- กลไกในการประเมิน ทบทวนสภาพภายในองค์การ เช่น ระบบการติดตามประเมินผล
- การได้ตดิ ต่อสัมพันธ์กับภายนอกองคก์ าร ซึ่งทำ�ให้เห็นถงึ การเปลีย่ นแปลงของสถานการณ์
จะเห็นได้วา่ เมือ่ มกี ารเปลีย่ นแปลงเกดิ ขึ้นในองค์การ ยอ่ มมที ัง้ แรงต้านการเปลี่ยนแปลงและแรงขับ
เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งผู้นำ�ที่มีประสิทธิภาพจะต้องสามารถลดแรงต้านและเพิ่มแรงสนับสนุน
ให้กระบวนการเปลี่ยนแปลงดำ�เนินไปในทิศทางที่ต้องการ รวมถึงการบรรลุผลสำ�เร็จของเป้าหมายการ
เปลี่ยนแปลงที่ตั้งใจไว้
สำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (2552: 81) ได้เสนอคำ�แนะนำ�สำ�หรับผู้นำ�การ
เปลี่ยนแปลงเพื่อช่วยเหลือให้บุคลากรรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในแต่ละภาวะของอารมณ์ได้ด้วยเทคนิค
และวิธีการต่างๆ ดังตารางที่ 2.3