Page 47 - การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับผู้นำทางการศึกษา
P. 47
ภาวะผู้นำ�และการบริหารการเปลี่ยนแปลง 2-37
การเตรียมบุคคลและทมี งานเพอ่ื การบริหารการเปลย่ี นแปลง
ผู้ที่มีบทบาทสำ�คัญในการเปลี่ยนแปลงจะประกอบด้วยบุคคลหลายกลุ่มซึ่งมีผู้ที่ทั้งเป็นผู้อุปถัมภ์
ผู้สนับสนุน ผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงและกลุ่มเป้าหมายที่จะต้องถูกเปลี่ยนแปลง ซึ่งสำ�นักงานคณะกรรมการ
พัฒนาระบบราชการ (2552: 29-32) ได้กล่าวถึงรายละเอียดของกลุ่มบุคคลดังกล่าวไว้ ดังนี้
1. ผู้อุปถัมภ์การเปลี่ยนแปลง (change sponsor) หมายถึง ผู้มีอำ�นาจในการอนุมัติให้มีการ
เปลี่ยนแปลง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่ได้รับการสนับสนุนของผู้อุปถัมภ์การเปลี่ยนแปลง
ทั้งนี้ บทบาทของผู้อุปถัมภ์การเปลี่ยนแปลงจะต้องเข้าใจถึงความสำ�คัญของการเปลี่ยนแปลงที่ตนให้การ
สนบั สนนุ จดั การและจดั สรรทรพั ยากรทีจ่ �ำ เปน็ ตอ้ งใชใ้ นการเปลีย่ นแปลง ท�ำ งานรว่ มกบั คนทีม่ สี ว่ นเกีย่ วขอ้ ง
ในการเปลี่ยนแปลง สื่อสารและช่วยแก้ไขปัญหาสำ�คัญที่เกิดขึ้นและเป็นประธานในการเปลี่ยนแปลง มีภาวะ
ผู้นำ�สูง
2. ผูส้ นบั สนนุ การเปลีย่ นแปลง (change advocate) หมายถงึ ผูท้ ีใ่ หก้ ารสนบั สนนุ การเปลีย่ นแปลง
อยา่ งเปน็ รปู ธรรมดว้ ยการสือ่ สารความส�ำ คญั และเนือ้ หาการเปลีย่ นแปลงนัน้ ไปยงั สว่ นตา่ งๆ ขององคก์ ารเพือ่
สร้างความเข้าใจอันดีที่จะช่วยเพิ่มแรงสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งช่วยในการรับข้อมูลและข้อคิดเห็น
จากผูท้ ีไ่ ดร้ บั ผลกระทบจากการเปลีย่ นแปลงและสือ่ สารกลบั ไปใหผ้ ูท้ �ำ การเปลีย่ นแปลงทราบ ซึง่ คณุ ลกั ษณะ
ของผู้สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงควรมีลักษณะที่เข้าใจการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นผู้ที่คนในองค์การรับฟังและ
เชื่อถือ มีความสามารถในการโน้มน้าวจิตใจคนฟังและสามารถทำ�งานร่วมกับผู้อื่นได้
3. ผูน้ �ำ การเปลี่ยนแปลง (change agent) หมายถงึ ผูท้ ีว่ างแผนและทำ�ให้เกดิ การเปลีย่ นแปลง เปน็
ผู้ที่มีบทบาทดำ�เนินการต่างๆ ที่เป็นไปเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงให้เป็นผลสำ�เร็จ รวมถึงการควบคุม
ดูแลกิจกรรมต่างๆ ของการเปลี่ยนแปลงนั้นให้ดำ�เนินไปด้วยดี สอดคล้องกัน รวมทั้งเป็นผู้ประสานงาน และ
ตวั กลางในการสือ่ สารระหวา่ งผูอ้ ปุ ถมั ภก์ ารเปลีย่ นแปลง ผูส้ นบั สนนุ การเปลี่ยนแปลง และผูถ้ กู เปลี่ยนแปลง
จะเห็นว่าผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงเป็นเสมือนคนกลางที่ต้องทำ�หน้าที่ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทั้งการ
วางแผน การปรับแผน และดำ�เนินการ ซึ่งสิ่งที่ผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงจำ�เป็นต้องมี คือ เข้าใจการเปลี่ยนแปลง
นั้น มีความสามารถในการวางแผน บริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ เช่น การวางแผนงาน การ
สื่อสาร การให้รางวัล การให้กำ�ลังใจ เป็นต้น สามารถทำ�งานร่วมกับผู้อื่นในการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขปัญหา
และมีความสามารถในการประสานงานทั้งกับระดับบนและระดับล่าง
4. ผู้ที่จะต้องเปลี่ยนแปลง (change target) หมายถึง ผู้ที่ต้องถูกเปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่างใน
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เช่น อาจต้องเปลี่ยนตำ�แหน่งงาน หน้าที่รับผิดชอบ เปลี่ยนกระบวนการทำ�งาน หรือ
เปลี่ยนทัศนคติในการทำ�งาน เป็นต้น เป็นกลุ่มคนที่อาจยินดีที่จะเปลี่ยนแปลง หรือต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
ซึ่งผู้นำ�การเปลี่ยนแปลงจะต้องบริหารจัดการให้ผู้ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงมีการเปลี่ยนแปลงตามที่คาดหวัง
นอกจากผูท้ ี่มีบทบาทส�ำ หรับในการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นบคุ คลดังกลา่ วขา้ งต้นแลว้ ในระดับองคก์ าร
การสร้างทีมที่สามารถทำ�หน้าที่นำ�ทิศทางของการเปลี่ยนแปลงก็มีความสำ�คัญมากไม่แพ้กัน คอตเตอร์
(Kotter, 1996) เรียกทีมดังกล่าวว่าเป็นแนวร่วมชี้นำ� (guiding coalition) ที่ควรประกอบด้วยสมาชิก 4
ลักษณะคือ