Page 46 - การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพ สำหรับผู้นำทางการศึกษา
P. 46
2-36 การพัฒนาทักษะและประสบการณ์วิชาชีพสำ�หรับผู้นำ�ทางการศึกษา
จากตารางที่ 2.3 จะเห็นว่าภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่เกิดการเปลี่ยนแปลงจะมีอยู่อย่าง
หลากหลาย ได้แก่ ตกใจและปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โกรธและต่อต้าน รับรู้และทดลองปฏิบัติตาม
และยอมรับการเปลี่ยนแปลงและปรับตัว ซึ่งผู้บริหารการเปลี่ยนแปลงสามารถนำ�เทคนิคและวิธีการของผู้นำ�
เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงตามตารางข้างต้นไปปรับใช้เพื่อประสิทธิภาพในการบริหารการเปลี่ยนแปลง
องค์การ
นอกจากนี้ คัมมิ่งและวอร์เล่ย์ (Cumming & Worley, 2005: 159) ได้เสนอ 3 ยุทธศาสตร์หลัก
สำ�หรับการเผชิญหน้ากับการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงในองค์การซึ่งครอบคลุมในประเด็นต่างๆ ดังนี้
1. ความเห็นใจ (empathy) และการให้การสนับสนุน (support) ยุทธศาสตร์นี้เน้นการระบุว่าใคร
ก�ำ ลงั มปี ญั หาอปุ สรรคเกีย่ วกบั การยอมรบั การเปลีย่ นแปลง ธรรมชาตแิ ละลกั ษณะของการตอ่ ตา้ นเปน็ อยา่ งไร
และควรใช้วิธีใดที่จะเอาชนะ ซึ่งต้องการความเห็นใจและการสนับสนุนอย่างจริงจัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัย
ความสำ�เร็จที่จำ�เป็นของยุทธศาสตร์เกี่ยวโยงกับความเต็มใจที่จะไม่ใช้ดุลยพินิจว่าผิดหรือถูกล่วงหน้า (pre-
judgment) การเข้าใจสถานการณ์ในมุมมอง (perspective) ของผู้อื่น กระบวนการรับฟังอย่างกระตือรือร้น
(active listening) และความสัมพันธ์แบบเปิดเผย (open relationship)
2. การสื่อสาร (communication) ยุทธศาสตร์การสื่อสารเชื่อว่าผู้ที่ต่อต้านมักประสบกับสภาวะ
และความรู้สึกของความไม่แน่นอน (uncertainty) เกี่ยวกับผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง การขาดความรู้
ความเข้าใจอย่างพอเพียงจะนำ�ไปสู่ความรู้สึกวิตกกังวลที่เกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ดังนั้น การ
สื่อสารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลจึงมีบทบาทสำ�คัญและความจำ�เป็นในการเอาชนะแรงต่อต้าน โดย
การสื่อสารจะช่วยให้สมาชิกองค์การเตรียมตัวสำ�หรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ช่วยการคาดเดาที่ทำ�ให้
เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง ทำ�ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและเท่าเทียมกัน และกระตุ้นการ
สนทนาแลกเปลี่ยนที่จะมีผลต่อการเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมต่อต้าน
3. การมีส่วนรว่ ม (participation/involvement) การมสี ว่ นร่วมเปน็ ยทุ ธศาสตรเ์ อาชนะการตอ่ ต้าน
การเปลี่ยนแปลงในองค์การที่ใช้กันแพร่หลายและได้ประสิทธิผลค่อนข้างมาก จุดเน้น คือ การเปิดโอกาสให้
สมาชิกเข้ามีส่วนร่วมโดยตรงทั้งในการวางแผนและการดำ�เนินการตามแผนการเปลี่ยนแปลง ยุทธศาสตร์
การมีส่วนร่วมก่อให้เกิดผล คือ สมาชิกองค์การให้ข้อมูลข่าวสารและความคิดเห็นที่หลากหลาย ที่อาจนำ�
ไปสู่นวัตกรรมที่เหมาะสมและได้ผลในการเปลี่ยนแปลงองค์การ สามารถระบุให้เห็นปัญหาและอุปสรรคที่
เกิดขึ้นในกระบวนการเปลี่ยนแปลง การมีส่วนร่วมในการวางแผนกระตุ้นความสนใจและความจำ�เป็นของ
ความรับผิดชอบร่วมกัน โดยเฉพาะในขั้นตอนการเข้าแทรกแซงและผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และ
ความผูกพัน (commitment) และแรงจูงใจ (motivation) ของสมาชิกต่อการดำ�เนินการเปลี่ยนแปลงให้
ประสบความสำ�เร็จ
การยอมรับและการต่อต้านการเปลี่ยนเป็นธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแทบทุก
องค์การ ผู้นำ�การบริหารการเปลี่ยนแปลงจะต้องพิจารณาแรงต้านและแรงขับ รวมทั้งพิจารณาถึงเทคนิค
และวิธีการหรือยุทธศาสตร์สำ�หรับการเผชิญหน้ากับการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงในองค์การเพื่อให้เกิดแรง
ขับเคลื่อนให้องค์การดำ�เนินการเปลี่ยนแปลงไปจนบรรลุเป้าหมาย