Page 34 - การประเมินองค์กรและบุคลากร
P. 34
13-24 การประเมินองค์กรและบุคลากร
ตวั อยา่ ง ค�ำ ถามเกยี่ วกบั สรา้ งแรงจงู ใจใหก้ ับผ้อู นื่ ได้
ประสบการณ์ของคุณจะนำ�มาใช้กับงานนี้ได้อย่างไร
หากคุณนำ�เสนอโปรเจตใหม่ที่ใช้เงินมหาศาลแต่หัวหน้าคุณไม่เห็นด้วย คุณจะทำ�อย่างไร
5. การประเมินจากกรอบการสั่งสมประสบการณ์ (Experience Accumulation Framework:
EAF)
กรอบการสั่งสมประสบการณ์เป็นเครื่องมือในการพัฒนาข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง (talent) อย่าง
เป็นระบบมีทิศทางและเกิดประสิทธิผลมีลักษณะเป็นแผนพัฒนาทั้งในระดับกรม ระดับรายบุคคลที่กำ�หนด
โดยสำ�นักงาน ก.พ. การจัดทำ�กรอบการสั่งสมประสบการณ์ มีขั้นตอน (สำ�นักงานคณะกรรมการข้าราชการ
พลเรือน. 2556) ดังนี้
5.1 การจดั ท�ำ กรอบการสงั่ สมประสบการณร์ ะดบั สว่ นราชการเพือ่ เปน็ แผนการพฒั นาทางกา้ วหนา้ ใน
สายอาชีพของข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูงในกรอบระยะเวลา 6-10 ปีกรอบการสั่งสมประสบการณ์นี้ประกอบ
ด้วยส่วนที่สำ�คัญคือ ตำ�แหน่งงานที่เป็นเป้าหมายสาระของการเรียนรู้ที่จำ�เป็นการมอบหมายให้ไปปฏิบัติ
หน้าที่ในโครงการสำ�คัญหรือโครงการร่วมงานที่มีความท้าทายยุ่งยากและซับซ้อนมากกว่างานที่ข้าราชการ
ระดบั เดยี วกนั ในระบบปกตไิ ดก้ ารฝกึ อบรมดูงานทัง้ ในและต่างประเทศการจดั ใหม้ ีระบบพี่เลี้ยงและการสอน
งานการแลกเปลี่ยนผู้ปฏิบัติงานกับหน่วยงานอื่น
5.2 แผนพัฒนาเฉพาะบุคคล (Individual Development Plan: IDP) หรือกรอบการสั่งสม
ประสบการณ์รายบุคคล ต้องสอดคล้องกับกรอบการสั่งสมประสบการณ์ขององค์การ แผนพัฒนาเฉพาะ
บุคคลนี้เป็นเครื่องมือที่จะช่วยสนับสนุนให้ผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง (talent) สามารถพัฒนาตามกรอบการสั่งสม
ประสบการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนประกอบที่สำ�คัญของแผนพัฒนาเฉพาะบุคคลคือ ประสบการณ์/
ผลงานที่ผ่านมา ลำ�ดับการเรียนรู้ระยะเวลาในการเรียนรู้ และสั่งสมประสบการณ์ งาน/โครงการในระยะเวลา
ต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับ EAF