Page 54 - การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้
P. 54

7-44 การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้

            1.7 ผู้ต้องการใช้ผลการประเมินหลักสูตรมีใครบ้าง มีความต้องการที่จะทราบและใช้ผลการ
ประเมินอย่างไร

            1.8 มีการกำ�หนดเกณฑ์ในการประเมิน หรือตัวชี้วัดความสำ�เร็จของหลักสูตรหรือไม่ ถ้ามี
เกณฑ์หรือตัวชี้วัดเหล่านั้น คืออะไร	

       2. ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และรูปแบบการประเมิน การศึกษาแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวกับการประเมิน
จะทำ�ให้ผู้ประเมิน โดยเฉพาะผู้ประเมินมือใหม่มีฐานความคิดและมองเห็นแนวทางในการดำ�เนินการ
ประเมินหลักสูตรได้ชัดเจนมากขึ้น สามารถออกแบบและวางแผนการประเมินหลักสูตรได้ครอบคลุม และ
เอื้อประโยชน์ต่อการใช้ผลการประเมินได้มากขึ้น นอกจากนี้ ผู้ประเมินควรจะได้ศึกษากรณีตัวอย่างการ
ประเมินหลักสูตรที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน หรือใกล้เคียงกันด้วย รวมทั้งการศึกษารูปแบบการประเมินที่
นักวิชาการทางการประเมินได้เสนอไว้ ซึ่งจะทำ�ให้ผู้ประเมินได้แนวคิดและมองเห็นแนวทางในการดำ�เนิน
การประเมิน มีความเชื่อมั่นและสามารถออกแบบการประเมินได้อย่างคมชัดลึกมากขึ้น เพราะรูปแบบการ
ประเมินจะเป็นกรอบแนวความคิดในการประเมินที่บ่งบอกให้ทราบว่า ในการประเมินหลักสูตรนั้น ควร
พิจารณาประเมินอะไรบ้าง (what) และในบางรูปแบบการประเมินอาจเสนอแนะถึงวิธีการประเมิน ตรวจสอบ
ด้วยว่าควรทำ�อย่างไร (how) ดังตัวอย่าง รูปแบบการประเมินซิป (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม ได้
เสนอแนะว่า ในการประเมินหลักสูตรควรพิจารณาหรือตัดสินคุณค่าของหลักสูตรใน 4 ประเด็น คือ (1) การ
ประเมินสภาวะแวดล้อมของหลักสูตร (Context evaluation) (2) การประเมินทรัพยากรในการใช้หลักสูตร
(Input evaluation) (3) การประเมินกระบวนการใช้หลักสูตร (Process evaluation) และ (4) การประเมิน
ผลผลิตของหลักสูตร (Product evaluation) การศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับรูปแบบการประเมินต่างๆ จะช่วยให้
ผู้ประเมินสามารถออกแบบและวางแผนการประเมินได้อย่างสมเหตุสมผล มีความเชื่อมั่นในการดำ�เนินการ
ประเมินหลักสูตรให้บรรลุผลสำ�เร็จได้

       3. กำ�หนดวัตถุประสงค์และตัวบ่งชี้การประเมิน หลังจากที่ผู้ประเมินได้ศึกษาวิเคราะห์ ทำ�ความ
เข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรที่ต้องการประเมินและศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และรูปแบบการประเมินแล้ว จะทำ�ให้
ทราบความชัดเจนว่าต้องการประเมินเพื่ออะไร จึงกำ�หนดวัตถุประสงค์ของการประเมินหลักสูตร ในแต่ละ
วัตถุประสงค์ของการประเมินก็กำ�หนดตัวบ่งชี้การประเมินว่าจะประเมินอะไรบ้าง

       4. ออกแบบการประเมิน   การออกแบบการประเมินหลักสูตรเป็นการวางแผนการประเมินเพื่อ
กำ�หนดรูปแบบ ขอบเขตและแนวทางการประเมินเพื่อให้ได้สารสนเทศเกี่ยวกับหลักสูตรที่มุ่งประเมิน ซึ่งจะ
เน้นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเพื่อการปรับปรุง พัฒนาและเปลี่ยนแปลงหลักสูตรต่อไป การออกแบบการ
ประเมินที่มีประสิทธิภาพที่จะให้ได้คำ�ตอบตรงตามวัตถุประสงค์ของการประเมินหรือได้สารสนเทศที่เป็น
ประโยชน์ต่อการตัดสินใจ จะต้องมีองค์ประกอบที่สำ�คัญ 3 ประการ คือ

            4.1 การออกแบบการวดั ตวั แปร (measurement design) เปน็ การวางแผนเพือ่ ก�ำ หนดวา่ ในการ
ประเมินหลักสูตรครั้งนี้ มุ่งศึกษาประเด็นการประเมิน ตัวแปร หรือตัวบ่งชี้การประเมินอะไรบ้าง และจะใช้
เครือ่ งมอื เกบ็ รวบรวมขอ้ มลู หรอื วดั ตวั แปรประเภทใดบา้ ง ขัน้ ตอนนีจ้ งึ เปน็ การก�ำ หนดเครือ่ งมอื เกบ็ รวบรวม
ข้อมูลในการประเมินให้มีความเหมาะสมหรือสอดคล้องกับลักษณะของตัวแปรหรือตัวบ่งชี้การประเมิน เช่น
แบบสอบถาม แบบทดสอบ หรือแบบวัดต่างๆ เป็นต้น
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59