Page 67 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิชาอาชีพ
P. 67

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สาระเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ระดับมัธยมศึกษา 11-57

                1) 	ประเภทของวิธีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบโครงการ/โครงงานนอกสถานที่
สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท คือ (1) โครงการ/โครงงานสร้างและประดิษฐ์ส่ิงต่าง ๆ เช่น การสร้าง
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การสร้างช้ินงานจากโปรแกรมส�ำเร็จรูป (2) โครงการ/โครงงานส�ำรวจ เช่น การส�ำรวจ
การใช้ระบบสารสนเทศของโรงเรียน การส�ำรวจสภาพการใช้อินเทอร์เน็ตของชั้นเรียน และการส�ำรวจปัญหา
การติดเกม ปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้เรียน เป็นต้น

                2)	ขน้ั ตอนการสอนแบบโครงการ/โครงงานนอกสถานที่ ประกอบด้วย 4 ข้ันตอน คือ
ขั้นเลือกโครงการ/โครงงาน ขั้นวางแผน ขั้นด�ำเนินการ และขั้นประเมินผล

                     (1) 	ข้ันเลือกโครงการ/โครงงาน ผู้เรียนเลือกโครงการ/โครงงานโดยพิจารณาถึง
คุณค่าทางการศึกษา และกำ� หนดความหมายมุง่ หมายและขอบข่ายของโครงการ/โครงงาน โดยผ้สู อนใหก้ ลุ่ม
ผเู้ รียนเปน็ ผู้ก�ำหนดเอง

                     (2) 	ข้ันวางแผน กลุ่มช่วยกันวางแผนว่าจะท�ำอย่างไรจึงจะบรรลุจุดมุ่งหมาย
ช่วยกนั พิจารณาหาวธิ กี ารต่าง ๆ แลว้ จงึ ท�ำกิจกรรมท่เี หมาะสม

                     (3) 	ขนั้ ดำ� เนนิ การ กลมุ่ ลงมอื ปฏบิ ตั ติ ามแผนทไี่ ดค้ ดั เลอื กไวแ้ ลว้ ผสู้ อนควรนเิ ทศ
การท�ำงานของผู้เรียนแตล่ ะกล่มุ ตลอดเวลา

                     (4) 	ขั้นประเมินผล ผู้เรียนแต่ละกลุ่มประเมินผลว่า โครงการ/โครงงานนั้นบรรลุ
ตามความมุ่งหมายที่ตัง้ ใจไว้หรือไม่

            4.2.3 	การฝึกงานนอกสถานที่ หมายถึง การน�ำผู้เรียนออกฝึกปฏิบัติการ หรือศึกษานอก
สถานท่ีเรียนเป็นกลุ่ม วัตถุประสงค์ของการฝึกงานนอกสถานที่ก็ท�ำนองเดียวกันกับการจัดประสบการณ์
การเรียนรูใ้ นห้องปฏิบัติการ แต่เป็นการเสริมให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์จากการท�ำงานที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะ
ช่วยแก้ปัญหาของสถาบันการศึกษาท่ีมีห้องปฏิบัติการหรือห้องฝึกงานที่ล้าสมัย ไม่เหมาะกับความก้าวหน้า
ทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ

            ตัวอย่างจากการฝึกงานนอกสถานท่ีเป็นกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้เรียนมัธยมศึกษาตอนปลายออก
ฝึกงานในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก กลุ่มผู้เรียนดังกล่าวนี้ อาจร่วมกันปฏิบัติงานตามท่ีได้รับมอบหมาย
เพื่อให้ได้ช้ินงานร่วมกัน หรือต่างผลิตชิ้นงานของตน แต่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน วิธีการนี้ในประเทศญ่ีปุ่นมี
การใช้กันมาก โดยมีการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม และได้รับมอบหมายให้ไปศึกษาหาความรู้นอก
สถานท่ี โดยมีการด�ำเนินการจริง และน�ำผลท่ีได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในช้ันเรียน

            การเรียนรู้ท่ีผู้เรียนจะได้รับการฝึกงานมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับการวางแผนของผู้สอน
ดังน้ันผู้สอนท่ีดีจึงควรเตรียมการฝึกงานนอกสถานที่ ดังน้ี

                1) 	การแบ่งกลุ่มผู้ฝึกตามความเหมาะสม แต่ละกลุ่มควรมีความรู้ความสามารถและ
ทัศนคติที่ใกล้เคียงกัน เพ่ือจะได้ไม่เป็นอุปสรรคต่อการท�ำงานร่วมกัน

                2) 	การจัดท�ำคู่มือการฝึกงาน ผู้ฝึกงานต้องมีคู่มือการฝึกงานท่ีประกอบด้วยค�ำแนะน�ำ 
และขั้นตอนการฝึกงานที่สมบูรณ์ เมื่อฝึกงานผู้เรียนต้องทราบวัตถุประสงค์ของการฝึกงาน ทราบว่ากลุ่มของ
ตนเองต้องปฏิบัติสิ่งใด ต้องสังเกต ค้นคว้าหรือต้องประยุกต์ความรู้ท่ีเรียนมาเพื่อท�ำสิ่งใดบ้าง
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72