Page 44 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิชาอาชีพ
P. 44

14-34 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิชาอาชีพ

บรรลุจุดประสงค์น้ัน ผู้สอนจะต้องควรมีการวัดและประเมินความรู้ความเข้าใจ ทักษะกระบวนการ และ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนแต่ละคนก่อนท่ีจะสอนรายวิชาหรือหน่วยการเรียนนั้น ๆ เพ่ือ
ตรวจสอบความรู้พ้ืนฐานของผู้เรียน จะได้ทราบว่าความรู้ความสามารถของผู้เรียนในเรื่องใดท่ียังขาดและ
ต้องรีบเสริมให้เกิดข้ึนก่อน หรือความรู้ความสามารถใดรู้แล้วจะได้ไม่ต้องเรียนซ้ํา เพื่อจะได้วางแผนและ
จัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนก่อนการสอนจริง ซึ่งจะมีผลท�ำให้ผู้เรียนสามรถบรรลุจุดประสงค์
ได้ดีข้ึน

       3.2 	ขณะด�ำเนินการสอน ผู้สอนสามารถท�ำการวัดและประเมินผลผู้เรียนเป็นระยะ ๆ เพ่ือจะได้
ทราบความก้าวหน้าและปัญหาในการเรียนเรื่องน้ัน ๆ ของผู้เรียน จะได้แก้ไขซ่อมเสริมก่อนที่จะเรียนเร่ือง
อื่นต่อไป นอกจากนี้ผลจากการวัดและประเมินยังช่วยผู้สอนในการปรับปรุงการสอนของตนให้สอดคล้องกับ
ปัญหาและความต้องการของผู้เรียนอีกด้วย การวัดและประเมินผลระยะน้ีมักจะกระท�ำหลักจากจบบทเรียน
ในแต่ละช่วง หรือหลังจากจบเนื้อหาในแต่ละตอน

       3.3	 หลังการสอนสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้ว ผู้สอนยังสามารถจัดท�ำการวัดและประเมินผู้เรียน
เพ่ือตรวจสอบว่าผู้เรียนมีพฤติกรรมหรือคุณสมบัติตรงตามท่ีได้ระบุไว้ในจุดประสงค์หรือไม่ เก่ง/อ่อนใน
สาระเรื่องใด ผู้สอนจะได้น�ำไปปรับปรุงการสอนโดยส่วนรวมในคร้ังต่อไป การวัดและประเมินผลในระยะนี้
มักจะกระท�ำเม่ือส้ินสุดการสอนในหนึ่งภาคเรียน หรือเมื่อจบเน้ือหารายวิชา

       การวัดและประเมินผลที่เหมาะสมกับการเรียนรู้สาระการอาชีพ ระดับมัธยมศึกษา ประกอบด้วย
การทดสอบ การสัมภาษณ์ การสอบถาม การสังเกต การการวัดผลภาคปฏิบัติหรือการประเมินจากผลงาน
การใช้แฟ้มสะสมงาน การประเมินโดยกลุ่มเพื่อน การประเมินกลุ่ม การประเมินโดยใช้แบบทดสอบท้ังแบบ
อัตนัยและแบบปรนัย และการน�ำข้อมูลจากการวัดและประเมินผลกลับมาปรับปรุงการออกแบบการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้ของผู้สอนสามารถท�ำได้ 3 ระยะ คือ ก่อนการสอน ขณะด�ำเนินการสอน และหลังการสอน
สิ้นสุด

             หลังจากศึกษาเน้ือหาสาระเร่ืองท่ี 14.2.2 แล้ว โปรดปฏิบัติกิจกรรม 14.2.2
                    ในแนวการศึกษาหน่วยท่ี 14 ตอนท่ี 14.2 เรื่องท่ี 14.2.2
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49