Page 22 - หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
P. 22
13-12 หลักการและทฤษฎีการศึกษาเกี่ยวกับวิชาชีพครู
มาตรฐานท่ี 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยค�ำนึงถึงผลท่ีจะเกิดแก่ผู้เรียน
การตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยค�ำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน หมายถึง การเลือก
อย่างชาญฉลาดด้วยความรักและหวังดีต่อผู้เรียน ดังนั้น ในการเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนและ
กิจกรรมอื่น ๆ ครูต้องค�ำนึงถึงประโยชน์ท่ีจะเกิดแก่ผู้เรียนเป็นหลัก
มาตรฐานที่ 3 มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เติบโตเต็มตามศักยภาพ
การมุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียน หมายถึง การใช้ความพยายามอย่างเต็มความสามารถของ ครูท่ีจะ
ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ให้มากที่สุด ตามความถนัด ความสนใจ ความต้องการ โดยวิเคราะห์วินิจฉัยปัญหา
ความตอ้ งการทแ่ี ทจ้ รงิ ของผเู้ รยี น ปรบั เปลยี่ นวธิ กี ารสอนทจี่ ะใหไ้ ดผ้ ลดกี วา่ เดมิ รวมทงั้ การสง่ เสรมิ พฒั นาการ
ด้านต่าง ๆ ตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้จริง
การพัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง หมายถึง การเลือกใช้ ปรับปรุงหรือ
สร้างแผนการสอน บันทึกการสอน หรือเตรียมการสอนในลักษณะอ่ืน ๆ ท่ีสามารถน�ำไปใช้จัดกิจกรรม
การเรียนการสอน ให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
มาตรฐานท่ี 5 พัฒนาส่ือการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
การพัฒนาส่ือการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ หมายถึง การประดิษฐ์คิดค้น
ผลติ เลอื กใช้ ปรบั ปรงุ เครอื่ งมอื อปุ กรณ์ เอกสารสงิ่ พมิ พ์ เทคนคิ วธิ กี ารตา่ ง ๆ เพอื่ ใหผ้ เู้ รยี นบรรลจุ ดุ ประสงค์
ของการเรียนรู้
มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรท่ีเกิดแก่ผู้เรียน
การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน หมายถึง การจัดการเรียนการสอน
ท่ีมุ่งเน้นให้ผู้เรียนประสบผลส�ำเร็จในการแสวงหาความรู้ ตามสภาพความแตกต่างของบุคคลด้วยการปฏิบัติ
จริง และสรุปความรู้ทั้งหลายได้ด้วยตนเอง ก่อให้เกิดค่านิยมและนิสัยในการปฏิบัติจนเป็นบุคลิกภาพถาวร
ติดตัวผู้เรียนตลอดไป
มาตรฐานที่ 7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
การรายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ หมายถึง การรายงานผลการ
พฒั นาผเู้ รยี นทเี่ กดิ จากการปฏบิ ตั กิ ารเรยี นการสอนใหค้ รอบคลมุ สาเหตุ ปจั จยั และการดำ� เนนิ งานทเี่ กยี่ วขอ้ ง
โดยครูน�ำเสนอรายงานการปฏิบัติในรายละเอียด ดังน้ี
(1) ปญั หาความตอ้ งการของผเู้ รยี นทตี่ อ้ งไดร้ บั การพฒั นา และเปา้ หมายของการพฒั นา
ผู้เรียน
(2) เทคนิค วิธีการหรือนวัตกรรมการเรียนการสอนที่น�ำมาใช้เพ่ือการพัฒนา คุณภาพ
ของผู้เรียน และข้ันตอนวิธีการใช้เทคนิควิธีการหรือนวัตกรรมนั้น ๆ
(3) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามวิธีการที่ก�ำหนดท่ีเกิดกับผู้เรียน
(4) ข้อเสนอแนะแนวทางใหม่ ๆ ในการปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียนให้ได้ผลดียิ่งข้ึน