Page 24 - ศิลปะกับสังคมไทย
P. 24

8-14 ศลิ ปะกบั สังคมไทย
            จากคำ�ประพนั ธ์ข้างต้น จะเหน็ ได้ว่ากลบทดังกลา่ วบงั คับให้เสียงของค�ำ สองค�ำ สดุ ท้ายของ

วรรคแรกต้องเป็นเสียงเดียวกันกับสองคำ�แรกในวรรคต่อมา คือ แดนพา-โดยภาคย์ แบบใช้-บูชา และ
ใสต่ ดิ -สงู เตบิ ท�ำ ใหเ้ กดิ ความไพเราะของเสยี งไดเ้ ปน็ อยา่ งดี นอกจากนย้ี งั เปน็ การแสดงความสามารถของ
กวนี ักเขยี นในการเลอื กสรรถอ้ ยค�ำ ให้เกดิ กลบทอนั ไพเราะเช่นนี้อีกดว้ ย

            กลา่ วโดยสรปุ แลว้ การสรา้ งรสค�ำ ในวรรณกรรมไทยสามารถท�ำ ไดห้ ลายวธิ กี าร ทง้ั การเลน่
เสียงสมั ผัส การซ้ําค�ำ  การเลน่ เสียงค�ำ ซํ้า การใชค้ �ำ ซ้ำ�เป็นกระสวน และการเลน่ กลบท ซงึ่ เป็นการทำ�ให้
บทประพันธ์มีเสียงที่ไพเราะเสนาะหูมากยิ่งขึ้น และยังทำ�ให้ผู้อ่านผู้ฟังเกิดความเพลิดเพลินใจและสัมผัส
ไดถ้ งึ “รส” ของค�ำ อนั ไพเราะเหลา่ นัน้

       2.2 	รสความ เป็นการสร้างความงามให้แก่บทประพันธ์ โดยการใช้คำ�ท่ีก่อให้เกิดจินตภาพแก่
ผู้อา่ นผฟู้ งั ดว้ ยวิธกี ารตา่ งๆ วธิ กี ารสร้างรสความให้แกบ่ ทประพนั ธน์ นั้ ท�ำ ได้หลายวธิ กี าร ทสี่ �ำ คญั เช่น

            2.2.1 	อุปมา เป็นการเปรียบเทียบส่ิงๆ หน่ึงว่ามีลักษณะเหมือนกับสิ่งอีกสิ่งหน่ึง โดยใช้
ค�ำ เช่ือม เช่น ดัง ดงั่ ดจุ ประดุจ เหมอื น ราว เพียง เพย้ี ง เฉก เช่น กล ครวุ นา เป็นตน้ วธิ ีการดงั กล่าว
เป็นการทำ�ให้ผู้อ่านผู้ฟังสามารถก่อจินตภาพในส่ิงที่กวีผู้เขียนต้องการส่ือสารได้ดี วิธีการอุปมาจึงเป็น
วิธกี ารที่พบมากในการส่อื ความในวรรณกรรมไทย ตัวอยา่ งเชน่

	 	อนั สุรยิ ว์ งศเ์ ทวญั อสญั หยา	 	  เรอื งเดชเดชาชาญสนาม
ทั้งโยธีก็ชำ�นาญการสงคราม	 	           ฦๅนามในชวาระอาฤทธ์ิ
กรุงกษัตริยข์ อขนึ้ ก็นับรอ้ ย	 	      เราเปน็ เมอื งน้อยกะจหิ ริด
ดงั หง่ิ ห้อยจะแขง่ แสงอาทิตย	์ 	      เหน็ ผดิ ระบอบบรุ าณมา

                                                        (อิเหนา. 2543: 251)

            บทประพนั ธข์ า้ งตน้ เปน็ ความตอนหนง่ึ ในเรอื่ งอเิ หนา ตอนศกึ กะหมงั กหุ นงิ โดยทา้ วกะหมงั
กุหนิงคิดจะทำ�สงครามกับเมืองดาหาเพ่ือชิงนางบุษบามาให้แก่ลูกชาย คือ วิหยาสะกำ�  น้องชายของ
ท้าวกะหมังกุหนิงได้เตือนให้ท้าวกะหมังกุหนิงตระหนักว่าเมืองดาหาเป็นเมืองใหญ่และมีแสนยานุภาพ
ของกองทัพมาก ขอให้ไตร่ตรองดูก่อน เพราะ “เราเป็นเมืองน้อยกะจิหริด” เปรียบได้กับ “ห่ิงห้อย” ที่
คิดจะไปแข่งแสงกับพระอาทิตย์ ซึ่งไม่มีทางที่จะเอาชนะได้เลย การใช้วิธีการอุปมาจากตัวอย่างข้างต้นน้ี
ทำ�ให้ผู้อ่านมองเห็นความแตกต่างระหว่างแสงที่เกิดจากหิ่งห้อยกับแสงอาทิตย์ได้ว่ามีความแตกต่างกัน
มากจนไม่อาจเทียบกันได้ เช่นเดียวกับกำ�ลังของกองทัพท้าวกะหมังกุหนิงที่ไม่อาจเทียบได้เลยกับกำ�ลัง
ของกองทัพเมืองดาหา

            การอปุ มายงั อาจท�ำ ใหผ้ อู้ า่ นผฟู้ งั มองเหน็ ถงึ ลกั ษณะนสิ ยั ของตวั ละครไดช้ ดั เจนยงิ่ ขนึ้ อกี ดว้ ย
เชน่ ในบททพ่ี ระยาครฑุ ต�ำ หนนิ างกากี ในกากกี ลอนสภุ าพ ของเจา้ พระยาพระคลงั (หน) ตอนหนง่ึ ความวา่
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29