Page 29 - ศิลปะกับสังคมไทย
P. 29
วรรณกรรมกับสงั คมไทย 8-19
กจิ กรรม 8.1.1
1. องคป์ ระกอบของวรรณศลิ ปท์ ่ีส�ำ คัญคืออะไรบา้ ง
2. วธิ กี ารสรา้ งรสคำ�ทีส่ �ำ คญั ไดแ้ กว่ ธิ ีการใดบา้ ง
3. วธิ ีการสร้างรสความทส่ี ำ�คญั ไดแ้ ก่วธิ กี ารใดบ้าง
แนวตอบกจิ กรรม 8.1.1
1. องค์ประกอบของวรรณศิลป์ที่สำ�คัญ ได้แก่ อารมณ์สะเทือนใจ จินตนาการ การแสดงออก
ท่วงทำ�นองหรอื ท่วงท่าทแ่ี สดงออก กลวธิ ีในการแต่ง และองค์ประกอบ
2. วธิ กี ารสรา้ งรสค�ำ ทสี่ �ำ คญั ไดแ้ ก่ การเลน่ เสยี งสมั ผสั การซาํ้ ค�ำ (การเลน่ เสยี งค�ำ พอ้ ง) การเลน่ เสยี ง
ค�ำ ซ้ํา การใชค้ ำ�ซํ้าเปน็ กระสวน และการเลน่ กลบท
3. วิธีการสรา้ งรสความทสี่ �ำ คญั ไดแ้ ก่ อปุ มา อปุ ลักษณ์ บคุ ลาธษิ ฐาน และอธพิ จน์
เรื่องท่ี 8.1.2
ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับสังคม
วรรณกรรมเป็นงานเขียนท่เี ป็นผลผลิตของสงั คม กลา่ วคือ สร้างข้ึนจากกวีนกั เขยี นทีเ่ ป็นสมาชกิ
ของสงั คม และถกู ถา่ ยทอดไปยงั ผอู้ า่ นผฟู้ งั ทเ่ี ปน็ สมาชกิ ของสงั คม วรรณกรรมจงึ มคี วามสมั พนั ธแ์ นบแนน่
ใกลช้ ดิ กบั สงั คม โดยสงั คมมอี ทิ ธพิ ลตอ่ วรรณกรรมในหลายดา้ น ทง้ั ในสว่ นของการก�ำ หนดแนวคดิ เนอ้ื หา
และรูปแบบของวรรณกรรม ขณะเดียวกันวรรณกรรมก็ส่งอิทธิพลต่อสังคมหลายประการ ทั้งการจรรโลง
จิตใจคนในสังคมและจรรโลงสังคมให้สงบสุข เพื่อให้มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับสังคม
กระจา่ งชดั ขึน้ ผู้เขียนจงึ ไดแ้ บ่งประเดน็ ในการอธบิ าย ออกเป็น 2 ประเด็น คอื อทิ ธิพลของสังคมทมี่ ีตอ่
วรรณกรรม และอทิ ธพิ ลของวรรณกรรมทีม่ ตี อ่ สังคม ดงั รายละเอยี ดตอ่ ไปนี้
1. อทิ ธิพลของสงั คมที่มตี ่อวรรณกรรม
ตามทก่ี ล่าวมาแล้วข้างตน้ ว่า สังคมมีอทิ ธพิ ลต่อวรรณกรรมเป็นอย่างมาก ท้ังน้ี เพราะกวีผู้เขยี น
มีฐานะเป็นสมาชิกคนหน่ึงในสังคม ผลงานการประพันธ์ของกวีจึงตกอยู่ภายใต้กรอบความคิด ค่านิยม
และวัฒนธรรมในยุคสมัยท่ีกวีนักเขียนประพันธ์วรรณกรรมนั้นข้ึนมา สังคมมีอิทธิพลต่อวรรณกรรม
หลายประการ ในที่น้ีจะอธิบายเฉพาะอิทธิพลของสังคมที่มีต่อแนวคิดของวรรณกรรม เนื้อหาของ
วรรณกรรม และรปู แบบของวรรณกรรม ดงั นี้