Page 25 - ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ และแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์
P. 25
แนวคิดเศรษฐศาสตร์ก ระแสห ลักในปัจจุบัน 13-15
เรือ่ งท่ี 13.2.1
สมมตฐิ านวา่ ด ว้ ยก ารค าดค ะเนท ่สี มเหตุสมผ ล
ข้อสรุปของทั้งนักเศรษฐศาสตร์เคนส์เซียนและการเงินนิยมที่ว่า นโยบายของรัฐบาล เช่น นโยบายการเงิน
สามารถส่งผลต ่อระดับราคา ผลผลิต การจ ้างงาน และรายได้ป ระชาชาติต ัวเงินในร ะยะส ั้นได้นั้น ยืนอ ยู่บ นข ้อสมมติ
ที่ว่า ทั้งคนง านและบ ริษัทมีข้อมูลอันจ ำ�กัดเกี่ยวก ับระดับร าคาในป ัจจุบัน ทำ�ให้ทั้งคนง านเสนอขายแ รงงานแ ละบ ริษัท
จัดจ้างแ รงงานในปริมาณท ี่อาจไม่ตรงก ับร ะดับราคาที่แท้จริงได้
ตวั อยา่ งเชน่ หากธ นาคารก ลางด �ำ เนินน โยบายก ารเงนิ แ บบผ ่อนค ลายด ้วยก ารเพิ่มป รมิ าณเงินในร ะบบแ ละล ด
อัตราด อกเบี้ย ทำ�ให้ก ารใช้จ ่ายม วลร วมเพิ่มข ึ้น ผลักด ันให้ร ะดับร าคาส ินค้าส ูงข ึ้น บริษัทเข้าใจว ่า การเพิ่มข ึ้นข องร าคา
เป็นปรากฏการณ์ระยะยาว จึงเพิ่มการจ้างงานด้วยการเพิ่มค่าจ้างตัวเงินเพื่อจูงใจให้คนงานเสนอขายแรงงานมากขึ้น
ส่วนค นง านก ็ย ังไม่ร ับร ู้ว ่า ระดับร าคาท ี่แท้จ ริงได้เพิ่มส ูงข ึ้นแ ล้ว จึงเข้าใจผ ิดว ่า ค่าจ ้างต ัวเงินท ี่เพิ่มข ึ้นน ั้นเท่ากับค ่าจ ้าง
ที่แท้จ ริงที่เพิ่มข ึ้นด ้วย คนงานจ ึงย ินดีเสนอขายแ รงงานมากข ึ้นเช่นกัน ต่อมา คนงานเริ่มร ับรู้ว ่า ระดับร าคาที่แท้จริง
นั้นได้เพิ่มสูงขึ้นม ากกว่าก ารเพิ่มค ่าจ ้างตัวเงิน เป็นผลให้ค ่าจ้างที่แท้จ ริงมิได้เพิ่มขึ้น หากแต่กลับล ดล ง คนง านจึงเริ่ม
เรียกร ้องค ่าจ ้างต ัวเงินท ี่ส ูงข ึ้นเพื่อช ดเชยก ับร าคาท ีส่ ูงข ึ้น ตลอดจ นล ดก ารเสนอข ายแ รงงานล ง ผลก ค็ ือ บริษัทม ตี ้นทุน
สูงข ึ้น ระดับร าคาเพิ่มข ึ้นอ ีกแ ละล ดก ารจ ้างง านล ง เป็นผ ลให้ท ั้งก ารจ ้างง าน ผลผลิตแ ละร ายได้ป ระชาชาติท ี่แท้จ ริงล ด
ลงก ลับมาสู่จ ุดเริ่มต้นเดิมในที่สุด แต่มีร ะดับราคาสินค้าสูงข ึ้น
ทั้งเศรษฐศาสตร์เคนส์เซียนแ ละแนวคิดการเงินนิยมทำ�การว ิเคราะห์บ นส มมติฐานท ี่ว ่า คนง านม ีพฤติกรรม
คาดคะเนราคาสินค้าแบบมองไปข้างหลังหรือแบบปรับตัว (Backward-Looking or Adaptive Expectations
Hypothesis) คือใช้ร ะดับร าคาส ินค้าในอ ดีตเป็นข ้อมูลป ระการเดียวในก ารค าดค ะเนร ะดับร าคาส ินค้าในป ัจจุบัน โดย
ไม่พิจารณาตัวแ ปร อื่นๆ เช่น นโยบายร ัฐบาลในอดีต รวมทั้งต ัวแปรทางเศรษฐกิจอื่น แต่สมมติฐานดังกล่าวก ลับม ีนัย
ที่ไม่พึงป ระสงค์คือ คนงานม ีพ ฤติกรรมที่ไม่ส มเหตุสมผ ล และกระทำ�ผิดพลาดซํ้าร อยเดิมอยู่ตลอดเวลา
ดังเช่นต ัวอย่างข้างต้น เมื่อธนาคารก ลางเพิ่มป ริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ในระยะส ั้น คนง านจะคาดคะเน
ระดับราคาสินค้าผิดพลาดและเสนอขายแรงงานในปริมาณที่มากเกินไป การปรับตัวขั้นต่อมาคือ คนงานรับรู้ราคาที่
แท้จริง และตัดสินใจลดการเสนอขายแรงงานลงมาอยู่ระดับเดิม ปัญหาของสมมติฐานการคาดคะเนแบบมองไป
ข้างหลังก็คือ ถ้าธนาคารกลางดำ�เนินนโยบายผ่อนคลายแบบเดิมอีก คนงานก็จะยังคาดคะเนระดับราคาผิดและ
เสนอข ายแ รงงานผ ิดเช่นเดิมอ ีกท ุกค รั้งโดยไมเ่คยเรียนร ูจ้ ากป ระสบการณเ์ลยว ่า ปริมาณเงินท ีเ่พิ่มข ึ้นท ำ�ใหร้ าคาส ินค้า
ที่แท้จริงเพิ่มส ูงข ึ้นท ุกค รั้ง พฤติกรรมท ี่ก ระทำ�ผิดซํ้ารอยเดิมเช่นน ี้ถูกมองว่า “ไม่สมเหตุสมผล” เพราะบ ุคคลในทาง
เศรษฐศาสตร์น ั้นม ีพฤติกรรมสมเหตุส มผ ล และย่อมเรียนร ู้จากค วามผิดพ ลาดในอ ดีต โดยจะไม่กระทำ�ผิดซํ้าอ ีกใน
อนาคตห ากมีข้อมูลที่เพียงพ อ
นักเศรษฐศาสตรก์ ลุ่มห นึ่งน ำ�โดยโรเบิร์ต ลูคัส (Robert Lucas) และ โทม ัส ซารเ์จ้น (Thomas Sargent) แห่ง
มหาวิทยาลัยช ิคาโก จึงได้พ ัฒนาส มมติฐานว ่าด ้วยก ารค าดค ะเนแ บบใหม่ข ึ้นในป ลายท ศวรรษ 1970 และต ้นท ศวรรษ
1980 และถ ูกเรียกว่า สมมติฐานการคาดคะเนที่ส มเหตุสมผ ล (Rational Expectations Hypothesis) โดยก ล่าวว ่า
ทั้งนายจ้างและคนงานจะทำ�การคาดคะเนค่าตัวแปรใดๆ (เช่น ระดับราคาสินค้าปัจจุบัน) โดยใช้ข่าวสารข้อมูลและ
ค่าตัวแปรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและที่มีอยู่ทั้งหมดอย่างมีประสิทธิภาพชาญฉลาด โดยสามารถระบุความสัมพันธ์ระหว่าง
ตัวแปรต่างๆ ได้อย่างถ ูกต้อง