Page 35 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
P. 35
การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษท่ีอิงมาตรฐานการเรียนรู้ 1-25
นอกจากนี้การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อบรรยากาศการเรียนเป็นการเรียนแบบร่วมมือ
(Collaborative learning) ตามแนวความคิดของไวก๊อตสกี้นั้นคือการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน ผู้สอนและ
ผู้ท่ีเกี่ยวข้องในเร่ืองที่ก�ำลังศึกษาจะท�ำให้ผู้เรียนเกิดความรู้มากขึ้นและท�ำให้เกิดความเข้าใจในส่ิงที่เรียนได้
เป็นอย่างดี (Nunan, 2004)
การจัดการเรียนการสอนภาษาตามแนวคิดนี้จะจัดให้ผู้เรียนอยู่ในส่ิงแวดล้อมท่ีเต็มไปด้วย
โอกาสในการใช้ภาษาหรือใช้ภาษาท่ีสองเพียงอย่างเดียวในการส่ือสารและได้มาซึ่งความรู้ต่าง ๆ ท่ีไมใ่ ชแ่ ค่
ความรู้ทางภาษา (Immersion Program) (Brumfit, 1986; Nunan, 2004) ดังน้ันการได้มาซึ่งความรู้
ภาษาต่างประเทศไม่ใช่ผลผลิตของการเรียนการสอน แต่กลับเป็นกระบวนการที่จะได้มาซึ่งความรู้ในศาสตร์
อื่น ๆ หรืออีกนัยนึงคือการพัฒนาภาษาต่างประเทศโดยใช้ภาษาต่างประเทศในการเรียนรู้เรื่องในศาสตร์
อนื่ ๆ ทผ่ี เู้ รยี นสนใจ ผลลพั ธค์ อื ไดเ้ รยี นรเู้ รอ่ื งของศาสตรอ์ น่ื เกดิ การเชอ่ื มโยงระหวา่ งสาขาวชิ า และไดพ้ ฒั นา
ความสามารถทางภาษา
ไวก๊อตสกี้ ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของ เปียเจต์ นักจิตวิทยาที่เชื่อว่าผู้เรียนมีความสามารถใน
การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ค้นพบด้วยตนเองได้จากความสนใจและความอยากรู้อยากเห็น ผู้เรียนจะ
เรียนรู้จากการพยายามค้นหา โดยการกระตุ้นให้เลือกวิธีในการค้นหาความรู้และสร้างด้วยตนเอง (Clark,
1987; Williams & Burden, 1997; Richards, 2001; Langford, 2005) ไวก๊อตสกี้ เช่ือว่าการสร้าง
องค์ความรู้ต้องการความร่วมมือของผู้ปกครอง ผู้สอน เพ่ือนและบริบทและสถานการณ์และวัฒนธรรมที่
ผู้เรียนอยู่ องค์ความรู้ไม่สามารถเกิดจากผู้เรียนเพียงผู้เดียว (Light & Littleton, 1999) ในการจัดการเรียน
การสอนภาษาน้ันสิ่งส�ำคัญคือการจัดส่ิงแวดล้อมที่ให้ผู้เรียนเป็นส่วนหน่ึงของสังคม และเป็นส่ิงแวดล้อมที่
กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการในการสืบค้นความสัมพันธ์ระหว่างตนเองและสังคม ผู้เรียนจะได้พบกับ
สถานการณ์จริงที่มีความซับซ้อนในการใช้ภาษา ไม่ใช่ส่ิงแวดล้อมท่ีจัดขึ้นเพื่ออ่านบทท่องจ�ำท่ีถูกท�ำให้ง่าย
ต่อการเรียน และสิ่งแวดล้อมที่ขาดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอน ผู้เรียน และสังคม (A.-P and Lian, 1997)
จากแนวคิดดังที่ได้กล่าวมา สามารถสรุปหลักการจัดการศึกษาตามแนวคิดที่อยู่ภายใต้การ
จดั การเรยี นการสอนทอี่ งิ มาตรฐานโดยการชใี้ หเ้ หน็ ความแตกตา่ งระหวา่ งแนวคดิ ดง้ั เดมิ และแนวคดิ รว่ มสมยั
ท่ีเป็นกรอบแนวคิดที่รองรับการจัดการเรียนการสอนท่ีอิงมาตรฐานการเรียนรู้ ดังตารางที่ 1.3