Page 39 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
P. 39

การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษท่ีอิงมาตรฐานการเรียนรู้ 1-29

ตนเองจากส่ือและแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ โดยผู้สอนจะกระตุ้นให้ผู้เรียนพยายามใฝ่หาค�ำตอบให้กับปัญหา
เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

       ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพ้ืนฐาน พ.ศ. 2551 ผู้สอนมีหน้าที่ดังนี้
       1. 	ศึกษาวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล แล้วน�ำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนการจัดการเรียนรู้ ท่ี
ท้าทายความสามารถของผู้เรียน
       2. 	ก�ำหนดเป้าหมายท่ีต้องการให้เกิดข้ึนกับผู้เรียน ด้านความรู้และทักษะกระบวนการ ท่ีเป็น
ความคิดรวบยอด หลักการ และความสัมพันธ์ รวมทั้งคุณลักษณะอันพึงประสงค์ประยุกต์ใช้ในสถานการณ์
ต่าง ๆ
       3. 	ประเมินและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของตนเองอย่างต่อเนื่อง
       4. 	ออกแบบการเรียนรู้และจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและพัฒนาการ
ทางสมอง เพ่ือน�ำผู้เรียนไปสู่เป้าหมาย
       5. 	จัดบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนรู้
       6. 	จัดเตรียมและเลือกใช้ส่ือให้เหมาะสมกับกิจกรรม น�ำภูมิปัญญาท้องถ่ินเทคโนโลยีที่เหมาะสม
มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
       7. 	ประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนด้วยวิธีการที่หลากหลาย เหมาะสมกับธรรมชาติของวิชาและ
ระดับพัฒนาการของผู้เรียน
       8. 	วิเคราะห์ผลการประเมินมาใช้ในการซ่อมเสริมและพัฒนาผู้เรียน รวมท้ังปรับปรุงการจัดการ
เรียนการสอนของตนเอง
       เอกสารของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ (2553) อธิบายว่า ผู้สอนท่ีดี
ทุกคนย่อมมีความรับผิดชอบในหน้าที่ในด้านการจัดการเรียนรู้และการอบรมผู้เรียนให้เป็นสมาชิกท่ีดีของ
ชุมชนและชาติ ดังน้ันการจัดการเรียนรู้ท่ีดีต้องมีหลักในการยึดดังน้ี
       1. 	ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ โดยการซักถามหรือให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ
ปัญหาง่าย ๆ ส�ำหรับผู้เรียนในระดับต่าง ๆ เพื่อจะได้เป็นการฝึกให้ผู้เรียนคิดหาเหตุผล คิดเปรียบเทียบ และ
คิดพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ
       2. 	ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ตรงให้มากที่สุดด้วยการเรียนโดยการกระท�ำด้วยตนเอง
(Learning by doing)
       3. 	ส่งเสริมให้ผู้เรียนท�ำงานเป็นกลุ่ม (Group working) โดยมีการปรึกษาหารือกันในกลุ่มแบ่งงาน
กันท�ำด้วยความร่วมมือกันและประเมินผลร่วมกัน
       4. 	ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักแก้ปัญหาด้วยตนเองตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์
       5. 	มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการเรียนรู้อยู่เสมอ เพื่อให้การจัดการเรียนรู้น้ันเกิดความยืดหยุ่น
น่าสนใจ และไมน่ า่ เบ่ือโดยการนำ� เอาเทคนิคการจดั การเรยี นรู้แบบตา่ ง ๆ มาดัดแปลงใชใ้ นการจดั การเรยี นรู้
       6. 	มีการเตรียมการจัดการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้า เพ่ือที่ผู้สอนจะได้ทราบว่าจะสอนอย่างไรบ้างตาม
ล�ำดับข้ันและยังช่วยให้ผู้สอนพร้อมที่จะสอนด้วยความม่ันใจ
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44