Page 45 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
P. 45

การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษท่ีอิงมาตรฐานการเรียนรู้ 1-35

2. 	ข้อจำ� กัดของการเรียนการสอนท่ีองิ มาตรฐานการเรยี นรู้

       2.1	 การสนับสนุนจากรัฐและชุมชนส�ำคัญอย่างย่ิงต่อการจัดการเรียนการสอนที่อิงมาตรฐาน
การเรียนรู้ ปรินท์ (Print, 1993) กล่าวว่า ส�ำหรับสถานศึกษาท่ีมีทรัพยากรบุคคลและได้รับการสนับสนุนท้ัง
ทางด้านการเงิน อีกทั้งผู้ปกครองและชุมชนพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ การจัดการเรียนการสอนที่อิง
มาตรฐานการเรียนรู้จะน�ำมาซ่ึงประโยชน์ เพราะทางการจัดการเรียนการสอนที่อิงมาตรฐานการเรียนรู้รองรับ
ความต้องการของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนท่ีอิงมาตรฐานการเรียนรู้ต้องการ
การสนับสนุนทางด้านการบริหารจัดการมากทั้งจากระดับรัฐบาลและระดับท้องถ่ิน เช่น การเปล่ียนแปลงด้าน
หน้าท่ีของผู้บริหารและผู้สอน เป็นเรื่องส�ำคัญและท้าทายเพราะเป็นการปรับเปล่ียนทัศนคติและแนวคิดใน
การทางการจัดการเรียนการสอนท่ีอิงมาตรฐานการเรียนรู้ ดังน้ันสถานศึกษาท่ีไม่ได้รับการสนับสนุนทั้งจาก
ภาครัฐ และจากชุมชน รวมถึงมีปัญหาเร่ืองบุคลากรนั้น การจัดการเรียนการสอนที่อิงมาตรฐานการเรียนรู้จึง
เป็นเรื่องที่ยาก และการเป็นอิสระทางการศึกษาจะเป็นเร่ืองท่ีเกิดข้ึนไม่ได้กับสถานศึกษาที่ขาดแหล่งเงินทุน
ดังน้ันสถานศึกษาท่ีมีปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณและการขาดแคลนบุคลากรทางการศึกษาจะประสบปัญหา
อย่างมากในทางการจัดการเรียนการสอนที่อิงมาตรฐานการเรียนรู้และการเรียนการสอนภาษาอังกฤษท่ี
อิงมาตรฐานการเรียนรู้

       2.2	 สิ่งที่ต้องค�ำนึงถึงเป็นอย่างย่ิงส�ำหรับการจัดการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่อิงมาตรฐานการเรียนรู้คือ
การตีความสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ของผู้สอนแต่ละท่าน และท�ำอย่างไรให้การตีความสาระและ
มาตรฐานการเรียนรู้ของผู้สอนไปในทางเดียวกัน (Willis and Kissane, 1997, as cited in Marsh, 2004,
pp.30-33) มาร์ส (Marsh, 2004) กล่าวว่า การใช้หลักสูตรมาตรฐานน้ันไม่ใช่เร่ืองง่ายเพราะต้องข้ึนอยู่กับ
สาระและมาตรฐานการเรยี นรดู้ ว้ ย เพราะถา้ สาระและและมาตรฐานการเรยี นรไู้ มม่ คี วามชดั เจนหรอื คลมุ เครอื
ก็ จ ะ ย า ก ส� ำ ห รั บ ผู ้ พั ฒ น า ห ลั ก สู ต ร ส ถ า น ศึ ก ษ า ใ น ก า ร ตี ค ว า ม แ ล ะ น� ำ ผู ้ เ รี ย น ถึ ง ผ ล ก า ร เ รี ย น รู ้ ท่ี
คาดหวังได้

       2.3	 คุณภาพผู้สอนเป็นส่ิงท่ีต้องค�ำนึงถึงเพราะถ้าผู้สอนไม่มีความเข้าใจในกระบวนการเรียนรู้
อาจจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ไม่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แต่กลับเป็นการสอนกระบวนการเช่น
การสอนกระบวนการสร้างบทสนทนาแนะน�ำตนเองกับเพื่อนชาวต่างชาติ เมื่อผู้เรียนสามารถสร้าง
บทสนทนาตามกระบวนการที่สอนได้ ผู้สอนจะสรุปว่าผู้เรียนมีกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งเช่นน้ีไม่ถือว่าได้บรรลุ
กระบวนการเรียนรู้ การเน้นกระบวนการหมายถึงผู้เรียนสามารถค้นพบกระบวนการสร้างบทสนทนาได้ดว้ ย
ตนเองจากการแนะน�ำของผู้สอน และสามารถใช้กระบวนการนี้กับการสร้างบทสนทนาอื่น ๆ ได้ (Grundy,
1987)

       2.4	 ระบบการประเมินหลักสูตรเชิงกระบวนการเน้นการวัดและประเมินที่กระบวนการเรียนรู้ ดังน้ัน
ระบบการประเมินท่ีเน้นข้อสอบมาตรฐานจะไม่สามารถวัดผลลัพธ์ของผู้เรียนท่ีเกิดจากระบบการเรียนที่เน้น
กระบวนการเรียนรู้ได้ (Stenhouse, 1975) อีกท้ังระบบการประเมินท่ีเน้นข้อสอบมาตรฐานกลายเป็นสิ่งท่ี
ผู้ปกครองและเด็กให้ความส�ำคัญ กระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียนจะถูกจ�ำกัดด้วยการเรียนเพ่ือ
การสอบหรือความส�ำเร็จในการบรรลุมาตรฐาน (Drake, 2012)
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50