Page 50 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
P. 50
1-40 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
ดังน้ันผู้สอนควรพิจารณาว่าตนเองยังคงใช้แนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบ
เก่าอยู่หรือไม่ อย่างไรก็ตามการจัดกิจกรรมที่เน้นความรู้ไวยากรณ์ไม่ใช่เรื่องเสียหาย การเรียนรู้โครงสร้าง
ประโยคมีความส�ำคัญต่อการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษา (Ellis, 1997) แต่ผู้เรียนภาษาต่างประเทศ
ควรได้มีประสบการณ์ควบคู่ไปกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เอื้อต่อการพัฒนาทางด้านภาษาแบบ
องค์รวมด้วย ซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อถัดไป
2. การจดั กิจกรรมภายใตแ้ นวทางการสอนภาษาเพอื่ การส่ือสาร
แนวทางการสอนภาษาองั กฤษเพอื่ การสอื่ สาร (Communicative language teaching approach)
ได้เกิดขึ้นในหลักสูตรภาษาต่างประเทศตั้งแต่ ค.ศ. 1978 เป็นการจัดการเรียนการสอนท่ีเน้นการปฏิบัติและ
การน�ำไปใช้ได้ซ่ึงท�ำให้เกิดการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารที่ วิดโดสัน (Widdowson, 1990) ใช้ค�ำว่า Language
use คือ การใช้ภาษาเพ่ือการสื่อสาร
ความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร (Communicative competence) คือความสามารถ
ในการใช้ภาษาในสถานการณ์ใดและกับใคร หรือในอีกความหมายหน่ึงความสามารถทางการส่ือสารประกอบ
ด้วยความรู้ว่าจะพูดอะไร เมื่อไหร่ อย่างไร ท่ีไหน และกับใคร (Dubin&Olshtain, 1986) ซ่ึงเป็นมุมมอง
แบบองค์รวม (Holistic) ที่รวมความเหมาะสมตามบริบทของสังคม และความหมาย มากกว่ามุมมองภาษา
เปน็ หนว่ ยภาษา (Discrete) ทเี่ นน้ องคป์ ระกอบทางภาษาศาสตรใ์ นกระบวนการเรยี นการสอนและการประเมนิ
ท่ีให้ความส�ำคัญต่อความถูกต้องของภาษาหรือโครงสร้างภาษาเพียงอย่างเดียว
อย่างไรก็ตามการพัฒนาหลักสูตรภายใต้แนวคิดการเรียนการสอนภาษาเพ่ือการส่ือสาร ยังคงเป็น
ลักษณะจากบนลงล่าง (Top-Down) และยังคงใช้เทคนิควิธีการทางวิทยาศาสตร์ตามกระบวนทัศน์
ปฏิฐานนิยม คือการวางแผนและพัฒนาหลักสูตรเป็นไปตามล�ำดับข้ันตอน ท่ีเร่ิมจากการวางจุดประสงค์
การเรียนการสอน การจัดเนื้อหา การวางแผนวิธีสอนและวางแผนวิธีวัดและประเมินผล (Taba, 1962;
Nunan, 1988; Tyler, Madaus, & Stufflebeam, 1989; Brady, 1992; Ornstein & Hunkins, 1993;
Print, 1993; วิชัย วงษ์ใหญ่, 2525)
วิลคินส์ (Wilkins, 1976) และ ริชาร์ดส์ (Richards, 2001) เพ่ิมเติมว่า แนวทางการสอนภาษา
อังกฤษเพื่อการสื่อสารน้ันผู้สอนหรือผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้ก�ำหนดเนื้อหาให้ผู้เรียน เพียงแค่เน้ือหาโดยเน้น
การน�ำภาษาไปใช้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ซ่ึงเห็นได้จากการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดของการสอนภาษา
แบบท่ีเน้นหน้าท่ีของภาษา (Notional-functional approach) ภายใต้แนวคิดนี้ผู้สอนจะจัดท�ำประมวล
รายวิชา (Course syllabus) ทั้งขอบข่าย (scope) และล�ำดับการเรียนรู้ (sequence) ของเน้ือหาไว้ก่อน
อย่างชัดเจน โดยจัดประมวลรายวิชา ตามประเภทของการใช้ภาษาเพ่ือการสื่อสาร ซ่ึงเน้นท่ีหน้าที่และการสื่อ
ความหมายของภาษา (Brumfit, 1984) หลักสูตรที่เป็นที่ยอมรับท่ัวโลกที่พัฒนาจากแนวคิดน้ืคือ Threshold
Level ท่ีพัฒนาโดย แวนเอ๊ก (van Ek) ที่มีเน้ือหารวมทั้งเนื้อหาทางด้านการใช้ภาษาในบริบทสังคม (Social
context) และทางภาษาศาสตร์ (Linguistic context)