Page 49 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
P. 49

การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษท่ีอิงมาตรฐานการเรียนรู้ 1-39

       6. 	วัดและประเมินผลผู้เรียนด้วยวิธีการท่ีหลากหลาย ต่อเน่ือง ทั้งด้านความรู้ความคิด ทักษะ
กระบวนการ คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมโดยการประเมินตามสภาพจริงและการประเมินตนเอง

       7.	 ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ท่ีหลากหลาย ท้ังในห้องเรียน และนอกห้องเรียนทั้งแหล่ง
เรียนรู้ท่ีเป็นสถานที่และบุคคล ใช้แหล่งเรียนรู้ท้องถ่ิน ภูมิปัญญาท้องถิ่น เทคโนโลยีและส่ือท่ีเหมาะสม
มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ (มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2553)

       ทั้งนี้สามารถสรุปสาระส�ำคัญของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษท่ีอิงมาตรฐาน
การเรียนรู้ทั้งหมด 3 หัวข้อตามช่วงของการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน (The phase of English
language teaching and learning development) จากอดีตถึงปัจจุบันดังนี้คือ

       1. 	แนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบเก่า
       2. 	การจัดกิจกรรมภายใต้แนวทางการสอนภาษาเพ่ือการส่ือสาร
       3. 	แนวคิดของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาอังกฤษท่ีอิงมาตรฐานการเรียนรู้

1. 	แนวการจดั กจิ กรรมการเรยี นการสอนภาษาอังกฤษแบบเก่า

       แนวการจัดกจิ กรรมการเรยี นการสอนภาษาองั กฤษแบบเก่าอยภู่ ายใต้แนวคดิ หลกั สูตรภาษาอังกฤษ
แบบเก่า หรือเรียกอีกชื่อคือ หลักสูตรผลผลิต (Curriculum as product) น้ันเป็นหลักสูตรทเ่ี นน้ เนอื้ หาทาง
ด้านภาษา หรือเป็นหลักสูตรที่เน้นความรู้ทางด้านไวยากรณ์ (Grammar-based curriculum) เฟนเน่ย์
(Finney, 2002) กลา่ ววา่ หลกั สตู รลกั ษณะนม้ี จี ดุ มงุ่ หมายใหผ้ เู้ รยี นมคี วามสามารถในการเรยี นรกู้ ฎไวยากรณ์
และค�ำศัพท์เป็นหลัก ดังน้ันการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรชนิดนี้มีเทคนิคการสอนที่เน้นการท่องจ�ำ
กฎไวยากรณ์ การเลียนแบบประโยคและฝึกฝนโดยผู้เรียนเป็นผู้ท�ำตามค�ำสั่งและผู้รับความรู้ (Passive
learners) โดยมีผู้สอนเป็นศูนย์กลาง ผู้สอนเป็นผู้รู้ (Knower) และเป็นผู้ถ่ายโอนความรู้ (Transmitters
of knowledge) (Richards, 1985; White, 1988; Ellis, 1997; Finney, 2002) แนวคิดนี้เชื่อว่าการจัด
กจิ กรรมการเรยี นการสอนภาษานน้ั ควรเรม่ิ จากการจดั กจิ กรรมใหผ้ เู้ รยี นตอ้ งเรยี นรรู้ ะบบโครงสรา้ งของภาษา
ก่อนถึงจะสามารถน�ำไปใช้ได้ (Brumfit, 1984, p.78) เช่น การเติมค�ำในช่องว่าง การอ่านออกเสียงเลียนแบบ
ประโยค

       การประเมินก็จะเน้นการประเมินความรู้ด้านไวยากรณ์และค�ำศัพท์เป็นส�ำคัญ โดยใช้ข้อสอบปรนัย
ที่เน้นการแยกภาษาออกเป็นส่วนเล็ก ๆ (Discrete items) มากกว่าการน�ำไปใช้ในบริบทต่าง ๆ ท่ีเหมาะสม
กับสถานการณ์ และการจัดท�ำการประเมินผู้เรียนภาษาด้วยข้อสอบปรนัยจะน�ำมาซ่ึงผลกระทบต่อการเรียน
ในห้องเรียน (Washback)

       การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนภายใต้หลักสูตรผลผลิตน้ันจึงเป็นกิจกรรมท่ีเน้นความจ�ำของ
เนื้อหาของรายวิชา โดยไม่ค�ำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียน และบริบทของแต่ละชุมชนและสังคม กิจกรรม
ไม่ต้องหลากหลายเพราะมีจุดประสงค์เดียวคือความสามารถในการจ�ำโครงสร้างภาษาเพื่อสอบ
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54