Page 32 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาอังกฤษ
P. 32

2-22

แนวตอบกิจกรรม 2.1.3
       การแก้ไขภาษา แบ่งเป็น 2 ลักษณะตามรูปแบบของการสอนไวยากรณ์ ดังนี้
       1. 	การแก้ไขโดยตรง (explicit feedback) ในการสอนไวยากรณ์โดยไม่อิงบริบทการใช้ภาษา

(Focus on FormS) เมื่อผู้เรียนพูดผิด เช่น “The cat ran fastly.” ผู้สอนก็แก้ไวยากรณ์ที่ผิดโดยการ
อธิบายให้กับผู้เรียนว่า “The word fastly doesn’t exist. The adverb form of fast is “fast.”

       2. 	การแก้ไขโดยทางอ้อม (implicit feedback) เป็นการแก้ไขที่อิงกับการสอนไวยากรณ์ในบริบท
การใช้ภาษา (Focus on Form) ซึ่งมีหลายวิธี เช่น การแก้ไขโดยการพูดทวนคำ�พูดของผู้เรียนที่ผิดแต่ใช้
รูปแบบที่ถูก (recast) การแก้ไขโดยการพูดคำ�หรือวลีที่แสดงว่าขอให้ผู้พูดพูดซํ้า (Clarification request)
การแก้ไขโดยการพูดให้ผู้เรียนคิดหาคำ�ตอบที่ถูกโดยอาศัยหลักไวยากรณ์ (Metalinguistic feedback)
การแก้ไขภาษาโดยการให้ผู้เรียนพยายามตอบตามคำ�หรือข้อความที่เกริ่นนำ� (Elicitation) การแก้ไขภาษา
โดยการพูดทวนซํ้า (Repetition) เป็นต้น

       กลวิธีแก้ไขข้อผิดพลาดทั้งวิธีแก้โดยตรงหรือโดยทางอ้อมนั้นเป็นวิธีที่นักวิชาการด้านการรับภาษา
ที่สองพิจารณาว่าเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทักษะภาษาของผู้เรียน

แนวตอบกิจกรรม 2.1.4
       เนื่องจากทฤษฎีสังคมและวัฒนธรรมมีแนวคิดว่า การเรียนรู้และการพัฒนาทุกรูปแบบเกิดขึ้นเมื่อ

มนุษย์มีส่วนร่วมในกิจกรรมและบริบททางสังคม การเรียนการสอนภาษาอังกฤษตามแนวคิดของทฤษฎีนี้
จึงควรเน้นเรื่องการทำ�งานเป็นคู่หรือเป็นกลุ่มเพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีการเจรจาทั้งในประเด็น
ความหมายและไวยากรณ์ การให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กันเป็นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพไม่น้อยไปกว่าการที่
ผู้สอนดำ�เนินการแก้ไขข้อผิดพลาดทางไวยากรณ์โดยตรง เพราะจะทำ�ให้ผู้เรียนได้ทดลองผลิตภาษาขึ้นมา
ด้วยตนเองซึ่งจะเป็นการอำ�นวยให้ผู้เรียนสามารถคิดวิเคราะห์ได้ด้วยตนเองว่าควรจะพัฒนาทักษะภาษาได้
อย่างไร

ตอนท่ี 2.2 วธิ กี ารสอนภาษาอังกฤษกับการเรยี นการสอนภาษาอังกฤษ

แนวตอบกจิ กรรม 2.2.1
       การที่จะให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษตามวัตถุประสงค์ในการจัดการเรียน

การสอนจำ�เป็นต้องอิงอยู่กับวิธีการสอน และเนื่องจากการเรียนการสอนภาษาอังกฤษมีประวัติที่ยาวนานที่
ผ่านมาจึงมีวิธีสอนต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมายตามการพัฒนาของศาสตร์ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องทั้งแนวคิด ทฤษฎี
ผลการศึกษาวิจัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา อาทิ การสอนแบบไวยากรณ์และแปล วิธีการสอนแบบ
ฝึกกระสวนภาษา วิธีการสอนแบบเน้นการสื่อสาร เป็นต้น อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผู้สอนควรตระหนักคือ ไม่มีวิธี
สอนใดที่ถือเป็นแบบสำ�เร็จตามตัวที่ผู้สอนทุกคนจะต้องยึดถือหรือปฏิบัติตาม ผู้สอนจึงมีอิสระที่ใช้วิธีการ
ต่าง ๆ ที่เห็นว่าจะช่วยให้ผู้เรียนของตนเกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37