Page 25 - การบริหารกิจการสื่อสาร
P. 25
การบริหารงานกิจการโฆษณา 12-15
2.2 คณะกรรมการตรวจพจิ ารณาการโฆษณาทางวทิ ยแุ ละโทรทศั น์ มหี นา้ ทใี่ นการตรวจสอบเนอ้ื หา
ความเหมาะสมของภาพยนตร์โฆษณาของบริษัทต่างๆ ก่อนท่ีจะมีการออกอากาศตามวิทยุและโทรทัศน์
โดยในอดตี การตรววจสอบดงั กลา่ วเปน็ หนา้ ทขี่ องคณะกรรมการบรหิ ารวทิ ยกุ ระจายเสยี งและวทิ ยโุ ทรทศั น์
(หรือ กบว.) ซึ่งแต่ละสถานีจะต้องแจ้งก�ำหนดเวลาออกอากาศ และแผนผังรายการให้ กบว. ทราบล่วง
หนา้ หากมีการฝา่ ฝืน หรือกระทำ� การผดิ ระเบียบทกี่ ำ� หนดไว้ กบว. มีอำ� นาจในการลงโทษแก่สถานจี นถงึ
ขัน้ ปิดสถานี
แตใ่ นปจั จบุ นั ทางชอ่ งสถานีโทรทศั นจ์ ะเป็นผู้ด�ำเนนิ การเอง โดยมีคณะกรรมการพจิ ารณา และ
มขี อ้ ตกลงวา่ ภาพยนตรโ์ ฆษณาใดๆ ทจ่ี ะออกอากาศได้ ตอ้ งผา่ นการพจิ ารณาจากกรรมการทรี่ ว่ มระหวา่ ง
สถานีกับสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทยเสียก่อน โดยปัจจุบันคณะกรรมการตรวจสอบมีตัวแทนจาก
มหาวทิ ยาลยั และเอกชนพิจารณาในทุกวนั ซงึ่ ในแตล่ ะปีมีภาพยนตรโ์ ฆษณามากกว่าหนง่ึ หม่ืนเรอ่ื งสง่ มา
ให้พิจารณา โดยแบ่งเป็นการตรวจพิจารณาก่อนการผลิต (Pre Censorship) และหลังการผลิต (Post
Censorship) (พงศ์พิพัฒน์ บญั ชานนท,์ 2556)
นอกจากนี้ หนังสอื พิมพ์สามารถปฏเิ สธโฆษณาท่ีเหน็ ว่าไม่สมควร หรือขอให้แกไ้ ขขอ้ ความบาง
ส่วนได้ ในขณะทีส่ ือ่ กระจายเสียงก็มีคณะกรรมการตรวจสอบโฆษณาเชน่ กนั (อษุ า บิ้กกิน้ ส,์ 2552: 105)
2.3 ส�ำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) มหี นว่ ยงานภายในทเี่ กยี่ วขอ้ งดแู ลเกย่ี วกบั การ
โฆษณา เช่น ส�ำนักยา มีหนา้ ท่ี ควบคุมกำ� กบั ดูแลการโฆษณายา ผลิตภณั ฑเ์ พ่อื สุขภาพ ตรวจพจิ ารณา
และอนุญาตค�ำขอโฆษณา และเฝ้าระวังการโฆษณาแก่ส่ือต่างๆ กลุ่มควบคุมเครื่องส�ำอางมีหน้าท่ีตรวจ
สอบ กำ� กบั ดแู ล เฝา้ ระวงั เครอื่ งส�ำอาง สถานประกอบการดา้ นเครอ่ื งส�ำอาง และการโฆษณาเครอ่ื งส�ำอาง
ให้เปน็ ไปตามกฎหมาย
ในส่วนส�ำนกั อาหาร มีหนา้ ทด่ี ูแลการขออนญุ าตโฆษณาอาหารตามพระราชบญั ญัติอาหาร พ.ศ.
2522 ที่เกีย่ วข้องกับการโฆษณา อาหารทก่ี ฎหมายกาํ หนดใหข้ ออนญุ าตผลติ นาํ เข้า และอ่ืนๆ ตอ้ งได้รับ
อนญุ าตตามกฎหมายวา่ ดว้ ยอาหารตามแตล่ ะกรณนี น้ั ๆ ซงึ่ หากคณะกรรมการตรวจสอบพบวา่ ในเบอ้ื งตน้
ค�ำขอโฆษณาทย่ี ื่นขออนุญาตมปี ญั หา จะสง่ ต่อใหห้ น่วยงานทีเ่ กย่ี วขอ้ งตรวจสอบต่อไป สว่ นการโฆษณา
ยาทางสื่อตา่ งๆ ต้องขออนุญาตจากสำ� นักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กอ่ น เมอ่ื ได้รับอนญุ าต
แลว้ จึงทำ� การโฆษณาได้ โดยขอ้ ความ รูปภาพต้องตรงตามท่ีได้รบั อนุญาต
2.4 กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ทำ� หนา้ ทใี่ นการพจิ ารณาออกใบอนญุ าตใหธ้ รุ กจิ ทจี่ ดั
กจิ กรรมชงิ โชค การจบั ฉลาก แจกของรางวลั ตา่ งๆ เพราะกจิ กรรมเหลา่ นเี้ กยี่ วขอ้ งกบั การพนนั ตามมาตรา
8 ของพระราชบัญญตั ิว่าดว้ ยการพนัน พ.ศ. 2478 และพระราชบัญญัตคิ ุม้ ครองผบู้ ริโภค พ.ศ. 2522 หาก
ฝา่ ฝืนไมข่ ออนุญาต ตอ้ งถูกดำ� เนนิ คดีตามกฎหมาย
หากผปู้ ระกอบการธรุ กจิ ตอ้ งการจดั ชงิ โชค ตอ้ งยน่ื ขออนญุ าตพรอ้ มใหร้ ายละเอยี ดทมี่ า ระยะเวลา
จัดกิจกรรม กฎ กติกาการไดร้ บั รางวลั ให้ชัดเจน และต้องไม่ได้รบั ผลประโยชน์จากการเสยี่ งโชคดังกลา่ ว
ไมเ่ ช่นนนั้ จะถกู ยดึ ใบอนญุ าตและด�ำเนินคดี เช่น หากมีการทายผลการแขง่ ขันฟุตบอลโลก โดยการส่งผล
ผ่านข้อความสั้น (Short Message Service: SMS) แล้วผู้ประกอบการได้รับส่วนแบ่งรายได้จากค่าส่ง
ก็ถือว่าเขา้ ขา่ ยการกระทำ� ผดิ พระราชบัญญัติว่าดว้ ยการพนัน พ.ศ. 2478