Page 57 - ไทยในเศรษฐกิจโลก
P. 57
ประเทศไทยกับเศรษฐกิจการเมืองระหวา่ งประเทศ 3-47
สหรัฐอเมรกิ าแตไ่ ดล้ ุกลามข้ามไปสทู่ วีปอ่ืนๆ อยา่ งรวดเรว็ โดยเฉพาะประเทศยโุ รปที่มคี วามเชือ่ มโยงทาง
เศรษฐกิจกับสหรัฐอเมริกาอย่างสูง จนสร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดทุนท่ัวโลกมาจนถึงปัจจุบัน (ค.ศ.
2015)
ปัญหาซับไพรม์จึงสะท้อนให้เห็นถึงความเช่ือมโยงอย่างแนบแน่นของตลาดทุนและตลาดเงินใน
ยคุ โลกาภวิ ัตน์ ปญั หาของวกิ ฤตเศรษฐกิจในครั้งนสี้ ่งผลกระทบใหเ้ กิดการตั้งคำ� ถามตอ่ ระเบยี บเศรษฐกจิ
การเมืองระหวา่ งประเทศแบบเสรีนยิ มใหม่ซงึ่ ไดด้ �ำเนินการต่อเน่ืองและทวคี วามเขม้ ข้นขน้ึ มาตงั้ แต่สน้ิ สุด
สงครามเยน็ มาจนถงึ ปจั จบุ นั อยา่ งไรกต็ าม การตง้ั คำ� ถามตอ่ ระเบยี บเศรษฐกจิ การเมอื งฯ ดงั กลา่ วเกดิ ขน้ึ
จากภาคประชาชนโดยเฉพาะผคู้ นทไี่ ดร้ บั ผลกระทบจากวกิ ฤตเศรษฐกจิ ในครงั้ น้ี เชน่ ผคู้ นถกู ใหอ้ อกจากงาน
ผู้คนท่ีต้องล้มละลายและถูกยึดสินทรัพย์ที่มีอย่างบ้านเรือน นักศึกษาท่ีเพ่ิงจบการศึกษาและหางานท�ำ
ไม่ได้ ผู้คนที่ต้องสูญเสียสวัสดิการท่ีได้รับจากภาครัฐ เป็นต้น ซ่ึงเป็นปัญหาล่าสุดท่ีท้าทายต่อระเบียบ
เศรษฐกจิ การเมอื งระหวา่ งประเทศยุคหลงั สงครามเยน็
กลา่ วโดยสรปุ รปู แบบของเศรษฐกจิ การเมอื งระหวา่ งประเทศหลงั สงครามเยน็ เปลยี่ นรปู แบบจาก
แนวทางเสรีนิยมแบบฝังรากท่ีด�ำเนินมาตลอดหลังสงครามโลกครั้งท่ี 2 มาเป็นแนวทางเสรีนิยมใหม่ท่ีให้
ความสำ� คญั กบั ตลาดและลดบทบาทของภาครฐั โดยเฉพาะการยกเลกิ นโยบายเศรษฐกจิ และสงั คมแบบเคนส์
การจัดระเบียบเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศแบบเสรีนิยมใหม่ได้ขยายขอบเขตครอบคลุมไปทั่วโลก
พรอ้ มๆ ไปกบั การเกดิ โลกาภวิ ตั นท์ างเศรษฐกจิ และสงั คมดว้ ยการผลกั ดนั ของสถาบนั โลกบาลอยา่ ง กองทนุ
การเงินระหว่างประเทศ และธนาคารโลก รวมถึงธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา ผ่านชุดของนโยบาย
เศรษฐกิจที่เรียกว่าฉันทมติวอชิงตัน การเข้ามามีบทบาทมากขึ้นของเหล่าบรรดาบรรษัทข้ามชาติท่ีได้รับ
ประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้า การลงทุน และการเงิน รวมถึงการแปรรูปกิจการสาธารณะ และ
การขจัดกฎระเบียบตา่ งๆ เพ่อื อำ� นวยความสะดวกใหก้ ับการเคลอื่ นยา้ ยของทุน
อยา่ งไรกต็ าม ระเบยี บเศรษฐกจิ การเมอื งระหวา่ งประเทศในชว่ งนไ้ี ดม้ กี ารเปลยี่ นแปลงไปเนอ่ื งจาก
เหตุการณ์ส�ำคัญ 2 เหตุการณ์ เหตุการณ์แรกคือ การเกิดวินาศกรรมในสหรัฐใน ค.ศ. 2001 ท�ำให้
สหรัฐอเมริกาหันมาใช้นโยบายแบบเอกภาคีที่ให้ความส�ำคัญกับมิติของความม่ันคงมากย่ิงข้ึน เหตุการณ์
ท่ีสองคือ วิกฤตเศรษฐกิจซับไพร์มของสหรัฐอเมริกาใน ค.ศ. 2007 ท่ีส่งมีผลกระทบไปยังภูมิภาคอื่นๆ
โดยเฉพาะยุโรป ท�ำให้เกิดการต้ังค�ำถามต่อระเบียบเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศแบบเสรีนิยมใหม่
โดยประชาชนหลากหลายกล่มุ ทไ่ี ด้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจและแนวนโยบายแบบเสรีนิยมใหม่
กิจกรรม 3.3.1
จงอธบิ ายบรบิ ทเศรษฐกจิ การเมอื งระหวา่ งประเทศในชว่ งหลังสงครามเยน็