Page 27 - ความรู้เบื้องต้นการสื่อสารชุมชน
P. 27
การส่อื สารชมุ ชนกบั การพฒั นาการเมืองชมุ ชน 6-17
เร่ืองที่ 6.1.3
ความสัมพันธ์ของ “การเมือง” กับ “ชุมชน”
ความตอ่ เนอื่ งในเรอื่ งทแี่ ลว้ ทพี่ ยายามจะสำ� รวจความหมายของอำ� นาจและการเมอื งในแบบความหมาย
กวา้ งและเขา้ มาทำ� ความเขา้ ใจมติ ดิ งั กลา่ วตอ่ ความเปน็ ชมุ ชน โดยในเบอ้ื งตน้ จะเรมิ่ สำ� รวจทม่ี าและความหมาย
รวมถงึ พลวตั ใหมข่ องสงิ่ ทเี่ รยี กวา่ “ชมุ ชน” เสยี กอ่ นจะมามองความสมั พนั ธข์ อง “การเมอื ง” กบั “ชมุ ชน”
ในหัวข้อน้ีจะสนใจศึกษาสิ่งท่ีเรียกว่า “ประชาสังคม” (Civil Society) และ “ความเป็นการเมือง”
(the political) ในล�ำดบั ตอ่ ไป
ค�ำวา่ “ชุมชน” (community) มีความหมายที่หลากหลาย ความพยายามในการทำ� ความเข้าใจ
ผ่านรากศัพท์ของคำ� นใี้ นภาษาองั กฤษว่ามาจากค�ำว่า common ทหี่ มายถึงความเหมือนกัน รวมไปถึงค�ำ
วา่ commune ทม่ี ีความหมายวา่ การใชส้ อยรว่ มกนั และเมอ่ื พิจารณาผ่านค�ำวา่ communication ทแ่ี ปล
วา่ การสอ่ื สารดว้ ยแลว้ กพ็ อทจ่ี ะทำ� ความเขา้ ใจไดว้ า่ การเกดิ การรวมตวั นนั้ เกดิ มาจากปฏสิ มั พนั ธแ์ ละการ
สอื่ สาร ทท่ี ำ� หนา้ ทเ่ี ปน็ สายใยรอ้ ยรดั และสรา้ งความสมั พนั ธใ์ หก้ บั ผคู้ นจากการรวมตวั จนเกดิ เปน็ ชมุ ชนขน้ึ
กระทงั่ อาจกลา่ วไดว้ ่า “ระบบสังคม ก็คือ ระบบการสื่อสาร” (ปรัชญา เวสสารชั ช์, 2549: 418)
กำ� จร หลยุ ยะพงศ์ (2557) ใหค้ วามหมายของชมุ ชนอย่างงา่ ยก็คอื “ชุมชนเป็นพนื้ ทีข่ องการรวม
ตวั กนั ของผคู้ นแลว้ ยงั มองถงึ การรว่ มกนั ของผคู้ นในประเดน็ ตา่ งๆ” ทง้ั นสี้ ามารถนยิ ามชมุ ชนไดอ้ ยา่ งนอ้ ย
สามดา้ นคอื
ด้านแรก ชุมชนในแง่ของพ้ืนท่ี/กายภาพหรือภูมิศาสตร์ เป็นความหมายพื้นฐานของชุมชนที่
อธิบายผ่านการรวมตวั และสายสัมพันธ์ของผู้คนทผ่ี ู้กพนั ในอาณาบริเวณใดอาณาบริเวณหนึง่ ซ่ึงสามารถ
แยกแยะได้ตามต�ำแหน่งแห่งที่ของชุมชนน้ัน หรือแบ่งแยกตามระบบท่ีเรียกว่า “ภูมิรัฐศาสตร์” (Geo-
politic) ตั้งแตห่ นว่ ยย่อยๆ ไปจนถงึ ชุมชนภูมภิ าคและชมุ ชนโลก
ด้านท่ีสอง ชุมชนในจิตใจ เปน็ นยิ ามทเ่ี นน้ การมองชมุ ชนเปน็ เรอ่ื งของการรวมตวั กนั ผา่ น “สาย
สมั พนั ธ”์ (Bond) บางอยา่ งทเ่ี ชอ่ื มโยงผคู้ นเอาไว้ โดยเฉพาะการสอื่ สาร ซงึ่ มหี ลายระดบั ตงั้ แตร่ ะดบั กลมุ่
ไปจนถึงระดบั ส่ือสาธารณะ ทม่ี ีความแตกตา่ งหลากหลายสูงมาก เช่น
“ชุมชนทางอากาศ” หรือที่เรารู้จักดีคือ ชุมชน จส. 100 ถือเป็นชุมชนที่รวมตัวกันของผู้คนใน
เมอื งผา่ นคลน่ื วทิ ยุ จส. 100 เพอ่ื สอื่ สารแกไ้ ขปญั หาทางการจราจร ทภี่ ายหลงั ไดพ้ ฒั นามาเปน็ ชมุ ชนทเี่ นน้
การทำ� งานเพื่อสงั คม
“ชมุ ชนคนพลดั ถนิ่ ” (diasporas) หรอื “ชมุ ชนคนขา้ มพรมแดน” (transnational community)
เป็นชุมชนที่มาจากการรวมตัวของผู้อพยพหรือพลัดถ่ินจากดินแดนก�ำเนิดในดินแดนใหม่ที่ตนต้องพราก
จากมา ขณะเดียวกันก็เกิดการรวมตัวกันของกลุ่มคนเหล่านี้ โดยอาศัยถ่ินก�ำเนิดและวัฒนธรรมเดิมของ
ตนเป็นเครื่องเช่ือมสมั พันธ์ เช่น ชมุ ชนชาวจนี โพน้ ทะเล ชมุ ชนคนปักษ์ใต้ในกรุงเทพฯ ชุมชนคนไทยใน
สหรัฐ ชุมชนแมบ่ ้านไทยในเยอรมนี เปน็ ต้น