Page 26 - การศึกษาชุมชนเพื่อการวิจัยและพัฒนา
P. 26
3-16 การศึกษาชุมชนเพอ่ื การวจิ ัยและพฒั นา
งานของกุลนิษฎ์ พิสิษฐ์สังการ (2549) ศึกษากลุ่มผู้หญิงที่อ่านนิตยสารในร้านเสริมสวย ก็ใช้
วิธีการลงไปในชุมชนหรือร้านเสริมสวยเพื่อให้เห็นว่า กลุ่มผู้หญิงจะมีพฤติกรรมการอ่านนิตยสารอย่างไร
ผลการศกึ ษาแสดงใหเ้ หน็ วา่ รา้ นเสรมิ สวยทม่ี คี วามแตกตา่ งกนั จะมนี ติ ยสารทแี่ ตกตา่ งกนั แลว้ กลมุ่ ผหู้ ญงิ
ก็จะบริโภคนิตยสารไม่เหมือนกันอีกด้วย หากเป็นร้านเสริมสวยระดับสูงทันสมัย ร้านจะเลือกนิตยสาร
หัวนอกเพือ่ ส่อื ความเป็นสากล กลุ่มผูห้ ญิงกจ็ ะเลือกอา่ นนติ ยสารที่แสดงใหเ้ ห็นอตั ลักษณ์ของตนในฐานะ
ความทนั สมัย ในทางตรงกันขา้ มหากเปน็ รา้ นเสริมสวยหอ้ งแถว ลกู คา้ มกั จะเปน็ คนทำ� งาน แมบ่ ้าน การ
บรโิ ภคนติ ยสารก็เพื่อประโยชน์ใช้สอยมากกว่า เชน่ นติ ยสารแมบ่ ้าน บันเทงิ ครอบครัว เป็นตน้ และที่
สำ� คญั คอื นติ ยสารไมเ่ นน้ ความใหม่ ทงั้ น้ี กเ็ พราะกลมุ่ ผหู้ ญงิ ทบี่ รโิ ภคนติ ยสารในรา้ นหอ้ งแถวคอ่ นขา้ งจะ
เน้นค่านยิ มผหู้ ญงิ แบบเดมิ เช่น การเป็นแม่บ้าน ตรงกนั ข้ามกับร้านทันสมยั ท่เี น้นความสมัยใหม่
นอกจากนนั้ งานของนธิ ดิ า แสงสงิ แกว้ (2556) กไ็ ด้สาธิตการวิเคราะหค์ วามหมายดว้ ยแนวทาง
ปรากฏการณ์นยิ มท่ีลึกขึน้ โดยเรียกว่าวธิ ีการชาตพิ รรณวรรณา (ethnography) วิธกี ารน้ีพัฒนาข้นึ จาก
นักมานุษยวิทยาที่ให้น้�ำหนักแก่การลงไปในชุมชนเพื่อที่จะเรียนรู้ เข้าใจ ความหมายต่างๆ ในชุมชนใน
ลักษณะการฝังตวั และบนั ทึกรายละเอียดในระหว่างการเก็บข้อมูลในลักษณะบนั ทึกประจำ� วนั ซึ่งจะทำ� ให้
เข้าใจรายละเอยี ดมสี ่วนรว่ มได้มากกว่า
กรณีที่นิธิดา แสงสิงแก้วน�ำมาใช้คือ การศึกษาชุมชนปิดในบ้านพักฉุกเฉินของสตรีที่ถูกละเมิด
ทางเพศ ซ่ึงเป็นพื้นที่ของสตรีที่ไร้เสียงหรือแม้จะมีเสียงแต่ก็เป็นเสียงท่ีเล่าได้ยาก แต่จากการลงชุมชน
พนื้ ทอี่ ยา่ งตอ่ เนอ่ื งกพ็ บถงึ การสง่ เสยี งของคนกลมุ่ นผ้ี า่ นทง้ั อวจั นภาษา การเลา่ เรอื่ งราวประสบการณผ์ า่ น
การสนทนาที่ไมเ่ ป็นทางการ เชน่ ระหว่างการคยุ กนั หลงั อาหารเย็น การรว่ มชมโทรทศั น์ มากกวา่ พืน้ ท่ีท่ี
จดั ให้ นอกจากนนั้ ในขณะทบ่ี รโิ ภคสอ่ื ผหู้ ญงิ เหลา่ นนั้ กย็ งั วพิ ากษว์ จิ ารณส์ อ่ื ทเ่ี สนอภาพผหู้ ญงิ เปน็ เหยอ่ื
รวมถึงในขณะบริโภคสื่อละครที่เน้นความสุขแต่บรรดาสตรีกลุ่มน้ีก็สามารถเชื่อมโลกอันโหดร้ายกับโลก
จนิ ตนาการด้วยความหวงั ซงึ่ แสดงใหเ้ ห็นวา่ บรรดาสตรเี หลา่ นไ้ี ม่ใชไ่ รซ้ ึง่ เสียงแต่อาจเป็นเพราะเราไม่ได้
สนใจเสยี งของเธอ หากไมล่ งพน้ื ทเ่ี พอ่ื จะศกึ ษาชมุ ชนและตง้ั ใจเงยี่ หฟู งั เสยี งกอ็ าจไมไ่ ดข้ อ้ มลู และไดย้ นิ เธอ
เหล่านั้น อย่างไรก็ดี สิ่งที่จะเป็นปัญหาในการลงพื้นท่ีก็คือ การต้องพยายามเข้ากับกลุ่มปิดนั้นให้ได้ ซ่ึง
จ�ำเป็นต้องใชเ้ วลา การเรยี นรเู้ ปน็ อยา่ งมาก และที่ส�ำคญั คือ การสรา้ งความไวใ้ จแก่กลุ่มเป้าหมาย
กลา่ วโดยสรุป การศกึ ษาชมุ ชนจะมีแนวทางที่หลากหลายอย่างนอ้ ย 10 แนวทาง และการศึกษา
บางครงั้ กไ็ มไ่ ดจ้ ำ� กดั เฉพาะแนวทางเดยี ว แตอ่ าจมกี ารปะปนหรอื ผสมกนั ของแนวทางหลากหลายเขา้ ดว้ ย
กันได้ เช่น การศึกษาชุมชนหน่ึงอาจใช้แนวทางวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์คู่กับการวิเคราะห์ความหมาย
หรอื การใชแ้ นวทางเปรยี บเทียบไปพรอ้ บกบั การวเิ คราะหเ์ ชิงเศรษฐศาสตรก์ ารเมือง ท้ังนี้ กเ็ พื่อทำ� ให้เกิด
ความเข้าใจชมุ ชนได้ละเอียดมากขนึ้