Page 65 - ไทยศึกษา
P. 65
แนวคิดในการศกึ ษาสงั คมและวฒั นธรรมไทย ๑-55
เคยมคี วามรเู้ พยี งการเกบ็ หาอาหารปา่ และลา่ สตั วเ์ ทา่ นน้ั อยา่ งทถี่ อื กนั วา่ เปน็ ขนั้ ตอนแรกๆ ของววิ ฒั นาการ
ของมนุษย์หรือไม่ ไม่มีหลักฐานยืนยันให้รู้ได้ เพราะไม่มีใครรู้แน่ว่าคนไทยมีตั้งแต่แรกเมื่อไร และอยู่กัน
ทไ่ี หน อยา่ งไร
หลกั ฐานทม่ี อี ยแู่ สดงแต่ว่าคนไทยมีความรูใ้ นการเพาะปลูก ทํานา ทาํ ไร่ และคงทําสวนเป็นด้วย
แต่ไม่เคยรู้จักทําและใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีฆ่าแมลง หรือใช้รถไถท่ีเป็นจักรยนต์ทุ่นแรงคน และแรงสัตว์
กอ่ นทจี่ ะมาคบหาสมาคมกบั ฝรง่ั สมยั อาณานคิ มของยคุ อตุ สาหกรรม เมอื่ ศตวรรษทแ่ี ลว้ คนไทยทร่ี วมเปน็
สงั คมไทยสมยั สโุ ขทยั มคี วามสามารถกาํ หนดระบบเศรษฐกจิ แบบการคา้ เสรี “เจา้ เมอื งบเ่ อาจกอบในไพร่
ลทู่ าง” “ใครใคร่ค้าชา้ งคา้ ใครใคร่คา้ มา้ ค้า” แต่พอมาถงึ สมยั อยุธยา สงั คมไทยมวี ิธีการจัดสรรทรพั ยากร
หลักของสังคม คอื ที่ดินท่ที ํากินใหเ้ ป็นกรรมสิทธิข์ องพระมหากษตั ริยเ์ พียงผูเ้ ดียว แต่อนญุ าตใหช้ าวบ้าน
ราษฎรไทยอาศยั ทาํ การเพาะปลกู เลย้ี งชวี ติ ได้ โดยมขี อ้ แมว้ า่ จะตอ้ งมฐี านะเปน็ ไพรอ่ ยใู่ นสงั กดั ของมลู นาย
ซงึ่ มคี า่ ตวั ตามตาํ แหนง่ ทต่ี า่ งกนั ของแตล่ ะคนกาํ หนด ใหร้ เู้ ปน็ จาํ นวนตวั เลขทตี่ ราไวใ้ นพระไอยการ (กฎหมาย)
ทเ่ี รยี กกนั วา่ “ระบบศกั ดนิ า” เปน็ หลกั ฐานรกู้ นั ในประวตั ศิ าสตร์ ถงึ แมจ้ ะไมม่ บี นั ทกึ หรอื ตวั อยา่ งเกย่ี วกบั
เคร่ืองมือ เครื่องใช้อุปกรณ์วิธีการเพาะปลูกเก็บเก่ียว และแบ่งปัน ผลผลิตในหมู่ชาวบ้านว่ามีลักษณะ
รายละเอยี ดเช่นไรก็ตาม
เครื่องมือและวิธีการท้ังที่เป็นวัตถุและไม่ใช่วัตถุในระบบเศรษฐกิจท่ีว่าด้วยการผลิตและบริโภค
ทรพั ยากร อาจไมม่ หี ลกั ฐานแนน่ อนเหลอื ไวใ้ หค้ นรนุ่ หลงั รไู้ ดเ้ ทา่ เครอื่ งมอื และวธิ กี ารของระบบการบรหิ าร
ปกครองท่ีอยู่ในครอบครองของผู้บริหารที่เป็นชนชั้นสูงในสังคมไทย เพราะพอมีซากร่องรอยท่ีเป็นวัตถุ
สถานหรอื บนั ทกึ เรอื่ งราวทเ่ี หลอื ใหเ้ กบ็ รวบรวมได้ ถงึ แมจ้ ะถกู พมา่ ขา้ ศกึ ทม่ี ายดึ กรงุ ศรอี ยธุ ยาทาํ ลายลา้ ง
ไปมิใช่น้อยเมอ่ื พ.ศ. ๒๓๑๐ แตเ่ ครือ่ งมอื และวธิ กี ารทีใ่ ชก้ ับสงิ่ แวดลอ้ มในระดับครอบครวั ญาตมิ ิตร และ
หมู่บ้านชุมชนที่จะบอกให้รู้ลักษณะ ความเป็นอยู่กับผู้คนใกล้ชิด แต่ไม่ใช่ฐานะผู้บริหารกับผู้ถูกปกครอง
ในระดับประเทศชาตนิ น้ั หาข้อมูลได้ยาก จะอาศยั สันนิษฐานตีความจากบทประพันธว์ รรณคดขี องยคุ สมยั
กม็ คี วามจํากัดอยู่มาก
ความรคู้ วามสามารถของคนในสงั คมไทยในการสรา้ งเครอื่ งมอื และวธิ กี ารทใ่ี ชก้ บั สง่ิ แวดลอ้ ม สว่ น
ที่เป็นจินตนาการและความเช่ือ ซ่ึงโดยท่ัวไปปรากฏในเร่ืองศิลปะและศาสนานั้น ในปัจจุบันเม่ือเทียบกับ
อดตี แล้ว อาจรู้สกึ วา่ ในศลิ ปะมีลกั ษณะที่เปลย่ี นแปลงไปมากกวา่ ในศาสนา รอ่ งรอยหลกั ฐานทางศิลปะใน
สาขาต่างๆ ของอดีตที่เหลืออยู่ ไมว่ ่าจะในสถาปตั ยกรรม จิตรกรรม ประตมิ ากรรม วรรณกรรม นาฏศลิ ป์
และดุริยางคศิลป์ ได้รับการอนุรักษ์ถ่ายทอดกันมาโดยหน่วยงานของรัฐ เช่น กรมศิลปากร เพื่อแสดง
เอกลกั ษณข์ องไทย จนในบางทบ่ี างสมยั เขา้ ใจเป็นวา่ ส่งิ เหลา่ นเ้ี ทา่ นนั้ เป็นตวั ของ “วฒั นธรรมไทย” และ
ส่ิงอื่นๆ ในแบบอย่างชีวิตไทยไม่เป็น แต่ถ้าเทียบศิลปะแบบเก่าตามประเพณีกับศิลปะแบบใหม่ของสมัย
ปัจจุบันที่ศิลปินหรือช่างไทยสมัยน้ีสร้างทํากันด้วยวัสดุและวิธีการใหม่ๆ ก็จะเห็นได้ว่า ลักษณะความรู้
ความสามารถของคนไทยในเรอื่ งเหลา่ นไ้ี ดเ้ ปลยี่ นแปลงไปจากรปู แบบเดมิ ของบรรพบรุ ษุ อยา่ งมาก จนบางคน
บางความคิดไม่ยอมรับว่าส่ิงใหม่ๆ น้ีเป็นวัฒนธรรมของไทยด้วย เพราะเห็นว่าไปรับเอาแบบอย่างจาก
สงั คมอ่นื ของต่างด้าวมาเลยี นแบบดัดแปลง จนไมเ่ ห็นเค้าแบบของไทยดั้งเดมิ เลย