Page 21 - ไทยศึกษา
P. 21

วรรณกรรมไทย ๙-11

                                  ภาพท่ี ๙.๓ ไตรภมู ิพระรว่ ง
       สมัยอยุธยาตอนต้น เม่ือแรกต้ังกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอู่ทองผู้ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ต้องการให้
ขนุ นางขา้ ราชการและผเู้ กยี่ วขอ้ งทงั้ หลายมคี วามเปน็ นำ้� หนงึ่ ใจเดยี วกนั มคี วามภกั ดตี อ่ กษตั รยิ ์ เพอื่ ความ
เปน็ ปึกแผน่ ของบา้ นเมอื ง โองการแชง่ นำ้� จงึ เกิดข้นึ เพื่อสนองจดุ ประสงค์ดงั กลา่ ว
       สมัยอยุธยาตอนปลาย เมื่ออยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.ศ. ๒๓๑๐ บ้านเมืองถูกท�ำลายย่อยยับ
วรรณกรรมตา่ งๆ จึงสูญหายไปดว้ ย
       ภาวะสงครามที่เกิดขึ้นในแต่ละคร้ัง ท�ำให้เกิดการสูญเสียวรรณกรรม แต่ในบางคราวเหตุการณ์
จากสงครามก็มีวีรบุรุษเกิดขึ้น ท�ำให้กวีมีความช่ืนชมเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์วรรณกรรมเพื่อ
สรรเสริญวีรบุรุษ ดังเช่นกวีประพันธ์ โคลงยวนพ่าย เพ่ือเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงนิพนธ์ร้อยกรอง ลิลิตตะเลงพ่าย เพ่ือ
เฉลิมพระเกียรตสิ มเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นตน้

๒. 	ภาวะผู้น�ำ

       ในสมยั ใดกต็ ามทพ่ี ระมหากษตั รยิ ท์ รงสนพระทยั ในวรรณกรรม สมยั นนั้ กจ็ ะมวี รรณกรรมเกดิ ขน้ึ มาก
พระมหากษัตริย์บางพระองค์ทรงพระปรีชาสามารถในการประพันธ์ เช่น สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สมเดจ็ พระเจา้ อยหู่ วั บรมโกศ พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธยอดฟา้ จฬุ าโลกมหาราช พระบาทสมเดจ็ พระพทุ ธ
เลศิ หลา้ นภาลัย ฯลฯ ก็ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมต่างๆ พระราชวงศแ์ ละขนุ นางขา้ ราชการกจ็ ะสนใจ
สรา้ งวรรณกรรมขน้ึ ดว้ ยแมก้ ษตั รยิ บ์ างพระองคจ์ ะไมท่ รงพระราชนพิ นธด์ ว้ ยพระองคเ์ อง แตก่ ท็ รงสง่ เสรมิ
วรรณกรรมด้วยการโปรดให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตร่วมกันประพันธ์งานวรรณกรรมขึ้น ดังเช่นสมเด็จ
พระบรมไตรโลกนาถโปรดใหร้ าชบัณฑิตแปลและเรยี บเรยี ง มหาชาตคิ �ำหลวง
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26