Page 29 - วิถีไทย
P. 29
ภาษาในวิถไี ทย 3-19
เร่ืองที่ 3.2.1
การเปล่ียนแปลงค�ำและความหมายในวิถีไทย
ภาษามีการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นธรรมชาติของภาษา การเปลี่ยนแปลงเกิดจากหลายสาเหตุ ทั้ง
เปลี่ยนตามสภาพสังคม ความนิยม หรือตามสมัย การเปลี่ยนแปลงของภาษาอาจแบ่งได้เป็นการ
เปล่ียนแปลงภายในท่ีเกิดจากตัวภาษาและผู้ใช้ภาษา และการเปลี่ยนแปลงภายนอกท่ีเกิดจากการ
ปฏสิ ัมพันธ์กับชาตติ ่างๆ จนมีการยืมคำ� สำ� หรับในเรือ่ งนี้จะกล่าวถงึ เฉพาะการเปลย่ี นแปลงภายใน ส่วน
การเปลย่ี นแปลงท่ีเกดิ จากปฏิสัมพนั ธก์ ับภายนอกจะกล่าวโดยละเอียดต่อไปในตอนท่ี 3.3
ภาษาเปลย่ี นแปลงหลายลกั ษณะทงั้ ดา้ นเสยี ง คำ� ตัวอกั ษร และความหมาย แตก่ ารเปลยี่ นแปลง
ทเ่ี ห็นชัดท่สี ุดคอื การเปลย่ี นแปลงด้านตัวอักษร อย่างไรกด็ ี การเปลีย่ นแปลงดงั กลา่ วต้องอาศยั ระยะเวลา
เมอื่ นำ� ตวั อกั ษรตา่ งสมยั มาเทยี บจงึ เหน็ ความตา่ ง โดยเฉพาะเมอ่ื จะเทยี บตวั อกั ษรปจั จบุ นั กบั ตวั อกั ษรไทย
สมยั สุโขทัยกย็ ิง่ เหน็ ความตา่ งได้มาก
ภาพที่ 3.1 ตวั อกั ษรไทยสมัยสโุ ขทยั เทียบกับอกั ษรไทยสมยั ปจั จบุ นั
นอกจากการเปลี่ยนแปลงด้านตัวอกั ษรแลว้ ภาษายงั มกี ารเปลย่ี นแปลงทีจ่ ะกล่าวถึง ดงั ตอ่ ไปน้ี
1. การเปล่ียนแปลงด้านค�ำ
การเปลย่ี นแปลงดา้ นคำ� มที งั้ ความนยิ มในการเขยี นรปู คำ� ตา่ งกนั แตท่ เ่ี หน็ ไดช้ ดั คอื การสญู คำ� และ
เพิ่มค�ำ การสูญค�ำหมายถึงค�ำท่ีในสมัยหนึ่งมีใช้ แต่ไม่พบแล้วในปัจจุบัน ส่วนการเพิ่มค�ำคือการสร้าง