Page 49 - ภาษาถิ่นและวรรณกรรมท้องถิ่นไทย
P. 49

วรรณกรรมทอ้ งถน่ิ ภาคใต้ 10-39

            2.3.3 อติพจน์ เป็นข้อความกล่าวเกินจริงที่มิอาจเกิดขึ้นได้แต่ผู้รับสารเข้าใจรับรู้ถึง
สุนทรียภาพได้ด้วยจินตนาการ ตัวอย่างเช่นวรรณกรรมเรื่อง “นางโภควดีค�ำกาพย์” ตอนนางโภควดี
อธิษฐานถวายชีวิต โดยให้ดวงจิตเป็นดวงดาวรูปสิงห์และสัตว์ต่างๆ เรืองรองอยู่บนท้องฟ้า ขอให้เลือด
เป็นแมน่ ํ้ากว้างใหญ่หลายสาย ทั้งสายจืด สายเคม็ สายสีด�ำ สายดีแดง และสายใส การอธิษฐานดังกล่าว
ของนางล้วนเป็นการกล่าวเกินจริงแต่ผู้อ่านจะได้รับอรรถรสอย่างดี ดังบทประพันธ์ว่า (ชัยวุฒิ พิยะกูล,
2548, น. 138)

	 ขอถวายชีวิต	 	 ขอให้ดวงจิต	 	 เป็นดวงดาหรา
เป็นสิงห์เป็นสัตว์	 ทุกพันนานา	  อยู่บนเวหา	             	 รุ่งเรืองสุกใส
	 โลหิตแห่งข้า	 	 ขอเป็นคงคา	 	 แม่นํ้ากว้างใหญ่
บางจืดบางเค็ม	  ต่างต่างกันไป	   ด�ำแดงขุมใส	 	 มีในดินดอน
(ดาหรา = ดารา, พัน = พรรณ พวก เหล่า ชนิด, บาง = บ้าง, ขุม = หลุม)

            2.3.4 สัทพจน์ คือการใช้ถอ้ ยคำ� ทเ่ี ปน็ การเลยี นเสยี งธรรมชาติ เช่นฝนตก ฟา้ รอ้ ง เสียงนก
และเสียงน้ําไหล เมื่อผู้แต่งใช้ค�ำเลียนเสียงธรรมชาติดังกล่าวแล้ว ผู้ฟังหรือผู้อ่านก็เกิดเห็นภาพตาม
ตัวอย่างเชน่ เพลงกลอ่ มเดก็ บท “ฟ้าล่ัน” ท่ีใชค้ ำ� วา่ “โครมโครม” เลียนเสียงฟา้ ร้อง ดงั บทเพลงวา่ (วมิ ล
ด�ำศรี, 2539, น. 166)

	 	 ฟ้าลั่นเหอ 	                 ลั่นมาโครมโครม
	 คดข้าวใส่โคม 	 	               ตักแกงใส่ถ้วย
	 นํ้าชุบใส่จาน 	 	              นั่งขวานลูกกล้วย
	 ตักแกงใส่ถ้วย 	 	              ลูกกล้วยนํ้าว้าอ่อนเหอ
	 (นํ้าชุบ = นํ้าพริก, ขวาน = ฝาน, ลูกกล้วย = ผลกล้วยอ่อนใช้กินเป็นผัก)

            2.3.5 	สัญลักษณ์ เปน็ การนำ� สภาพหรอื ลกั ษณะของสง่ิ หนงึ่ ใชแ้ ทนของอกี สง่ิ หนง่ึ ทตี่ อ้ งการ
กลา่ วถึง เช่น “ระฆงั ” แทนความมีชือ่ เสียง “อกี า” แทนคนชนั้ ตา่ํ “หงส”์ แทนคนช้นั สงู “ดอกไม”้ แทน
ผู้หญงิ ตวั อยา่ งเช่นเพลงกลอ่ มเดก็ บท “เดือนขึ้น” ใช้คำ� วา่ “นาํ้ เตา้ ” แทนลูกสาว และใช้ “แมงโภ”่ บาง
ทอ้ งถนิ่ อาจออกเสยี งวา่ “แมงภ”ู่ แทนชายหนมุ่ ดงั บทเพลงกลอ่ มเดก็ วา่ (วรวรรธน์ ศรยี าภยั , 2541, น. 177)

	 	 เดือนข้ึนเหอ 	               ขึ้นมาเป็นแสง
	 นํ้าเต้าพอทรามแกง	             นางแม่ห่วงไว้ไปไหน
	 หวงไว้นานนาน	 	                แมงโภ่ข้างบ้านต้ีลักไช
	 นางแม่ห่วงไว้ไปไหน	            นํ้าเต้าพอทรามแกงเหอ
	 (นํ้าเต้า = ฟักทอง, แมงโภ่ = แมลงภู่, ตี้ = จะ, ไช = เจาะ, ทราม = พอเหมาะพอดี)
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54