Page 70 - ภาษาถิ่นและวรรณกรรมท้องถิ่นไทย
P. 70

10-60 ภาษาถนิ่ และวรรณกรรมทอ้ งถนิ่ ไทย

       “ศภุ มัสดุศักราชไดเ้ กา้ ร้อยเจด็ สิบส่ี เดอื นห้าขนึ้ เกา้ คํา่ ปีชวด เถลิงศก วนั จันทร์ ชวด จตั วา
พระมหาศรีราชปรีชญา เอาทองห้าต�ำลึงแล ญาติอีกด้วยสัปปุรุสท้ังหลายช่วยอนุโมทนา เป็นทอง
หกต�ำลึงสามบาทสามสลึง ตีเป็นแผ่นสวมพระธาตุเจ้า ในขณะออกญาพัทลุงมาเป็นพระยานคร
แลพระเจ้าพระครูเทพรักษาพระธาตุ”

       1.3 	คุณค่าของจารึกแผ่นทองที่ปลียอดพระมหาธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช จารึกแผ่นทองที่
ปลยี อดพระมหาธาตเุ จดยี น์ ครศรธี รรมราชแสดงใหเ้ หน็ ประวตั ศิ าสตรก์ ารสรา้ งพระบรมธาตทุ เ่ี ชอ่ื ถอื ได้ รวม
ท้งั ยืนยันถงึ คติความเชือ่ ความศรทั ธาของชาวนครศรีธรรมราชและใกล้เคียงท่ีมีต่อพระพุทธศาสนา ทงั้ ให้
ความรเู้ กย่ี วกบั ภาษาและอักษรทใ่ี ชใ้ นบริเวณภาคใต้ของไทยสมัยนั้นดว้ ย

2. 	นิราศชื่น

       นิราศชื่นเรียกอีกช่ือหน่ึงว่า “นิราศเรือนจ�ำ” แต่ข้ึนในช่วง พ.ศ. 2475-2478 เป็นเร่ืองราวใน
ลักษณะนิราศ คือ ครํ่าครวญถึงความรักและการพลัดพรากขณะเดินทาง สาเหตุท่ีเรียกว่านิราศเรือนจ�ำ
เน่ืองจากผู้แต่งได้กล่าวถึงเน้ือหาตอนท่ีตนเองติดคุก รายละเอียดเก่ียวกับผู้แต่ง ลักษณะการแต่ง สาระ
ส�ำคญั ของเร่อื งและตวั อยา่ งตวั บทเดน่ รวมทง้ั คณุ คา่ ของเร่ือง มีดงั น้ี

       2.1 	ผู้แต่ง นายช่ืน เกอื้ สกุล ผแู้ ตง่ นิราศช่ืน เป็นชาวอำ� เภอเกาะพะงนั จังหวดั สุราษฎรธ์ านี
       2.2 	ลักษณะการแต่ง นริ าศชืน่ แต่งเปน็ กลอนนริ าศ จ�ำนวน 383 บท จ�ำแนกเป็นบทไหวค้ รู 8
บท เน้ือหา 375 บท ตอนท้ายเรื่องอีก 10 บท เป็นการบอกชอ่ื ผู้แต่ง จุดประสงค์ในการแตง่ กลอนนริ าศ
มีลกั ษณะบังคับทางฉนั ทลกั ษณเ์ หมอื นกลอน 8 หรือกลอนสุภาพ บทหนงึ่ มี 4 วรรค วรรคหน่งึ มี 7-9 ค�ำ
แต่ละวรรคมีชื่อเรียกว่า สดับ รับ รอง และส่ง โดยจะขึ้นต้นด้วยวรรครับ และจบเร่ืองด้วยค�ำว่า “เอย”
นิราศชืน่ มีวรรคสดุ ทา้ ยวา่ “ขอรอไวส้ ารงั เอวงั เอย”
       2.3 	สาระส�ำคัญของเร่ืองและตัวอย่างตัวบทเด่น เนื้อหาของนิราศช่ืนแสดงถึงการเดินทางของ
กวีเพื่อไปรับโทษที่ได้กระท�ำผดิ น่นั คือท�ำร้ายผู้อนื่ จนแขนขาด แลว้ ตนก็มอบตวั กบั กำ� นัน ตอ่ มาถูกสง่ ตัว
ไปขังท่ีเกาะสมุย ย้ายไปท่ีจังหวัดสุราษฎร์ธานี ศาลตัดสินให้จ�ำคุก 3 ปี แต่ได้รับสารภาพจึงลดโทษกึ่ง
หนงึ่ โดยถกู ขังคุกอยู่ 5 เดือน แลว้ สง่ ตวั ไปท�ำงานย่อยหนิ ทีอ่ ำ� เภอท่าชนะเป็นเวลา 3 เดือน แลว้ เปลี่ยน
มาเป็นผู้เฝ้าประตูท�ำให้ชีวิตมีความสุขขึ้น ระหว่างการเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ ดังกล่าวมานั้นกวีได้
พรรณนาอารมณค์ วามรสู้ ึก การครํา่ ครวญ และกล่าวถงึ สภาพของสังคมในแต่ละแง่มมุ ทพี่ บเห็น พร้อมทั้ง
ไดส้ อดแทรกคติธรรมและข้อคดิ ท้ังในเร่อื งการประพฤตแิ ละการครองเรอื น
       ในตน้ ตน้ เรอ่ื งกวบี อกไวว้ า่ ตอ้ งจากบา้ นไปตดิ คกุ หา่ งจากภรรยาและบตุ ร เปน็ เพราะเคราะหก์ รรม
ที่เคยทำ� ไว้ ดงั บทกลอนว่า (ชวน เพชรแก้ว, 2548ข, น. 461)

	 จะรํ่าปางทางไกลไปตะราง	                ต้องเหินห่างคู่ชิดพิสมัย
ถึงคราวเคราะห์เพราะกรรมต้องจ�ำไป	        นับแต่ไกลบ้านเรือนเพ่ือนหญิงชาย
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75