Page 68 - ภาษาถิ่นและวรรณกรรมท้องถิ่นไทย
P. 68

8-58 ภาษาถนิ่ และวรรณกรรมทอ้ งถิน่ ไทย

สองจงึ รบกนั สนิ ไซชงิ นางไปได้ จงึ พานางสดี าจนั ทรเ์ เละนางสมุ ณฑากลบั มายงั ฝง่ั มหาสมทุ รทกี่ มุ ารทง้ั หก
คอยอยู่ กมุ ารทง้ั หกดใี จมาก เเตไ่ มร่ จู้ ะไปทลู พระบดิ าอยา่ งไรดี จงึ หาอบุ ายฆา่ สนิ ไซ เมอ่ื ไดโ้ อกาสจงึ ผลกั
สนิ ไซตกเหวพรอ้ มกบั สโี ห กมุ ารทง้ั หกพานางสมุ ณฑาเเละนางสดี าจนั ทรก์ ลบั เขา้ เมอื ง ระหวา่ งทางนางสมุ ณฑา
เป็นหว่ งสินไซมาก เเต่ก็จนใจจงึ นำ� ผา้ สไบเเขวนไว้แลว้ อธิษฐานวา่ หากสินไซยงั มีชีวิตอยู่ ขอให้นางไดพ้ บ
ผ้าผืนนีอ้ กี

       เมอื่ กุมารทัง้ หกกลบั ถงึ เมือง ท้าวกศุ ราชบิดาทรงดพี ระทยั มาก ท่กี มุ ารทงั้ หกมอี ทิ ธิฤทธส์ิ ามารถ
ปราบยักษ์ปราบนาคได้ส�ำเร็จ จึงจัดงานเฉลิมฉลองเป็นการใหญ่ ส่วนนางสุมณฑาเเละนางสีดาจันทร์ไม่
กล้าจะทูลความจริง เพราะคิดว่าสินไซคงเสียชีวิตเเล้ว วันหน่ึงพ่อค้าส�ำเภาได้พบผ้าสไบซึ่งเป็นผ้าของ
กษตั ริย์ จงึ น�ำมาถวายทา้ วกุศราช นางสุมณฑาเหน็ ผา้ ของตนทอี่ ธิษฐานไวท้ ราบวา่ สินไซยงั มีชีวิตอยู่ จงึ
เลา่ เรอื่ งทงั้ หมดใหท้ า้ วกศุ ราชฟงั ทา้ วกศุ ราชจงึ จดั งานฉลองพระนครเจด็ วนั เจด็ คนื เพอ่ื อบุ ายใหท้ า้ วสนิ ไซ
มาเทย่ี วงานเฉลมิ ฉลอง โดยไดใ้ หน้ างสมุ ณฑาคอยตดิ ตามดคู นทมี่ าเทยี่ วงานเพอ่ื ตามหาสนิ ไซ ฝา่ ยสนิ ไซ
เม่ือถูกผลักตกเหวร้อนถึงพระอินทร์ๆ จึงมาช่วยชุบชีวิตเเล้วให้กลับไปอยู่กับมารดาตามเดิม เมื่อมีงาน
ฉลองพระนครก็ไปเดินเท่ียว นางสุมณฑาพบเข้าจึงให้เข้าเฝ้าท้าวกุศราช ท้าวกุศราชสอบถามความจริง
จงึ สง่ั ใหป้ ระหารชวี ติ หมอโหรเเละขบั ไลก่ มุ ารทง้ั หกเเละชายาทง้ั หกไปอยเู่ มอื งจำ� ปา สว่ นทา้ วกศุ ราชกเ็ เตง่
ราชรถไปรบั ชายา มเหสี สโี หเเละสนิ ไซเขา้ เมอื ง สว่ นนางสดี าจนั ทรน์ น้ั ทา้ ววรณุ นาคมาขอไปเปน็ ชายาเหมอื น
เดมิ ท้าวสินไซกไ็ ด้ครองบา้ นเมือง อยใู่ นทศพิธราชธรรม บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสขุ

5. 	 เสียวสวาด

       5.1 	ความส�ำคัญของเรื่อง ค�ำว่า เสียวสวาด ตรงกับภาษาไทยภาคกลางว่า เฉลียวฉลาด เป็น
วรรณกรรมท่ีแพร่หลายในท้องถ่ินอีสานและลาว มีลักษณะเป็นนิทานซ้อนนิทานที่เป็นนิทานสุภาษิตผสม
กบั นทิ านธรรม โดยจะยกสภุ าษติ คำ� สอนขนึ้ มาแลว้ เลา่ นทิ านประกอบเพอ่ื เปน็ การอธบิ ายภาษติ หรอื คำ� สอน
นั้นๆ ท�ำให้วรรณกรรมเรื่องน้ีเป็นนิทานประเทืองปัญญา ซ่ึงพระสงฆ์นิยมน�ำมาใช้เทศน์ในงานเทศกาล
งานบญุ ต่างๆ เพ่ือใชส้ ง่ั สอนชาวบ้าน และเป็นวรรณกรรมอกี เร่ืองหนึ่งที่ชาวบ้านนิยมนำ� มาอา่ นในงานศพ
หรอื งานงนั เฮอื นดีในอดตี

       5.2 	ส�ำนวนโวหาร เรอื่ งเสยี วสวาดประพนั ธด์ ว้ ยโคลงสาร โดดเดน่ ดว้ ยการใชส้ ำ� นวนโวหาร โดย
เฉพาะการใช้โวหารในการใช้อุปมาโวหาร มีส�ำนวนโวหารท่ีไพเราะ เพราะมีการสัมผัสทั้งสัมผัสสระและ
สัมผสั พยญั ชนะ และบางบทก็มีการเล่นเสียงอกั ษรทไ่ี พเราะสละสลวย มเี นอื้ หาทด่ี ี มากด้วยค�ำคมทเี่ ป็น
ปรัชญา เป็นปริศนาธรรมท่ีผู้แต่งน�ำมาเรียบเรียงเป็นเนื้อเร่ืองแต่ละเหตุการณ์ได้อย่างลงตัว ดังตัวอย่าง
บทพรรณนาป่าไม้ตอนทเี่ สียวสวาดเดินทางไปคา้ ขาย ขอ้ ความวา่

มีทั้ง	  ยมยอยู้	                       ยูงยางย�ำย่าง	
	        ตับเต่าติ้ว	                   ต้าวฮ้างลืมแซง
มีท้ัง	  ซางส้มซ้อ	                     ฟันซีต้นซี่
	 เหมือดมี้เหม้า	 สมอม้ีม่วงมี
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73