Page 40 - ทักษะชีวิต
P. 40
6-30 ทกั ษะชวี ิต
เรื่องที่ 6.2.3
การประเมินปัญหาทางอารมณ์และสุขภาพจิต
ในการดำ� เนนิ ชวี ติ ประจำ� วนั บอ่ ยครง้ั ทบี่ คุ คลขาดการรเู้ ทา่ ทนั อารมณแ์ ละจติ ใจของตนเอง จงึ ตอ้ ง
เผชิญกับปัญหาทางอารมณ์และสุขภาพจิต การประเมินทางด้านจิตใจจึงเป็นส่ิงที่ช่วยให้บุคคลรู้ถึงภาวะ
จิตใจของตนเองและถือเป็นส่ิงท่ีมีประโยชน์โดยตรงต่อตัวบุคคล เพราะจะได้มีการปรับปรุงและดูแลจิตใจ
ของตนเองใหเ้ ปน็ ผทู้ ม่ี ีสขุ ภาพจติ ท่ีดีอยเู่ สมอ สำ� หรับการประเมนิ ดา้ นจิตใจของตนเองนัน้ ในตอนที่ 6.2.1
และ 6.2.2 ได้มีการน�ำเสนอลักษณะอาการของปัญหาทางอารมณ์และสุขภาพจิตท่ีนักศึกษาสามารถใช้
ในการสังเกตตนเองเบ้ืองต้น ดังน้ัน เน้ือหาในตอนน้ีขอน�ำเสนอถึงเคร่ืองมือมาตรฐานท่ีพัฒนาข้ึนโดย
หนว่ ยงานทางดา้ นสขุ ภาพจติ ส�ำหรบั บคุ คลใชใ้ นการประเมนิ ปญั หาทางอารมณแ์ ละสขุ ภาพจติ ของตนเอง
และคนรอบขา้ ง ดังรายละเอยี ดต่อไปน้ี
1. แบบประเมินความเครียด
ความเครยี ดเปน็ ภาวะทเ่ี กดิ ขนึ้ ไดก้ บั ทกุ คน และมาจากสาเหตทุ หี่ ลากหลาย หากปลอ่ ยใหต้ นเอง
เผชญิ กบั ความเครยี ดมากเกนิ ไปจะสง่ ผลเสยี ตอ่ รา่ งกายและจติ ใจ การประเมนิ ความเครยี ดจะชว่ ยใหบ้ คุ คล
ตระหนกั รใู้ นสงิ่ ทเ่ี กดิ ขนึ้ กบั ตนเองเพอ่ื ทจ่ี ะไดห้ าแนวทางในการจดั การโดยไมป่ ลอ่ ยใหค้ วามเครยี ดนน้ั สะสม
จนส่งผลเสียตามมาในภายหลัง ส�ำหรับในท่ีนี้ขอเสนอตัวอย่างแบบประเมินความเครียด (ST5) ของ
กรมสุขภาพจิต มีลักษณะเป็นแบบประเมินให้บุคคลเลือกประเมินอาการหรือความรู้สึกในช่วงระยะ 2-4
สปั ดาห์ จ�ำนวน 5 ขอ้ จากน้นั ท�ำการรวมคะแนน โดยคะแนน 0–4 หมายถงึ เครยี ดน้อย คะแนน 5–7
หมายถึง เครียดปานกลาง คะแนน 8–9 หมายถึง เครียดมาก และคะแนน 10–15 หมายถึง เครียด
มากท่ีสดุ โดยมีขอ้ ค�ำถามดังน้ี
ข้อที่ อาการหรือความรู้สึกท่ีเกิดในระยะ 2-4 สัปดาห์ คะแนน
0 12 3
1 มปี ัญหาการนอน นอนไมห่ ลับหรือนอนมาก
2 มีสมาธิน้อยลง
3 หงดุ หงดิ /กระวนกระวาย/วา้ วุ่นใจ
4 รสู้ ึกเบื่อ
5 ไมอ่ ยากพบปะผู้คน
ที่มา: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2562).